วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หน่วยการเรียนรู้ที่4บุคคลสำคัญ

หน่วยที่ 4


สมันรัตนโกสินทร์
รัตนโกสินที่สอง
สุโขทัย










พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


พระราชประวัติ




พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า ด้วง ประสูติในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙ พระบิดามีพระนามเดิมว่า ทองดี พระมารดาชื่อ หยก
เมื่อทรงมีพระชันษา ๒๑ พรรษา ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ๓ เดือน เมื่อลาสิกขาก็ทรงเข้ารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ครั้นถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศทรงได้รับตำแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตร ประจำเมืองราชบุรี พระองค์ทรงมีความชำนาญในการรบอย่างยิ่ง จึงได้รับพระราชทานปูนกำเหน็จความดีความชอบให้เลื่อนเป็นพระราชวรินทร์ พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยายมราชว่าที่สมุหนายก เจ้าพระยาจักรี และในที่สุดได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก มีเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม เมื่อทรงตีได้เวียงจันทร์ พระองค์ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) จากเมืองจันทน์มายังกรุงธนบุรีด้วย ต่อมาเกิดเหตุจลาจลได้สำเร็จ ข้าราชการและประชาชนจึงอัญเชิญเป็นพระมหากษัตริย์แทนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


พระราชกรณียกิจ


พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเป็นทั้งนักปกครองและนักการทหารที่ยอดเยี่ยม ทรงแต่งตั้งให้เจ้านายที่เคยผ่านราชการทัพศึกมาทำหน้าที่ช่วยในการปกครองบ้านเมืองโปรดเกล้าฯ
- ให้ชำระกฎหมายให้สอดคล้องกับยุคสมัยของบ้านเมือง คือ กฎหมายตราสามดวง
- รวมถึงการชำระพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์อันเป็นเครื่องส่งเสริมความมั่นคงของกรุงรัตนโกสินทร์
- นอกจากนี้พระองค์ยังคงทรงส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติ ทั้งด้านวรรณกรรมที่ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการประพันธ์ โดยพระราชนิพนธ์ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ บทละครเรื่องอุณรุท บทละครเรื่องอิเหนา บทละครเรื่องดาหลัง เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง นอกจากด้านวรรณกรรมแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชยังทรงส่งเสริมศิลปะด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และนาฏกรรม
- ภายหลังที่ครองกรุงรัตนโกสินทร์เพียง ๓ ปี ได้เกิดศึกพม่ายกทัพมาตีเมืองไทย พระองค์ทรงจัดกองทัพต่อสู้จนทัพพม่าแตกพ่าย ยังความเป็นเอกราชให้กับแผ่นดินไทยมาจนทุกวันนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นต่อพสกนิกรชาวไทย เป็น มหาราช อีกพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยและทรงเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ ที่ปกครองบ้านเมืองให้เกิดความสงบสุขจวบจนปัจจุบัน













พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว




พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ กับกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจะเสด็จสวรรคตนั้น พระองค์มิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่เจ้านายพระองค์ใด ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่จึงปรึกษายกราชสมบัติให้แก่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ฝ่ายเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งทรงผนวชตามราชประเพณีก่อนพระราชบิดาสวรรคตไม่กี่วัน จึงได้ดำรงอยู่ในสมณเพศต่อไปถึง ๒๖ พรรษา ทำให้พระองค์มีเวลาทรงศึกษาวิชาการต่างๆ อย่างมากมาย โดยเฉพาะภาษาต่างประเทศ เป็นเหตุให้ทรงทราบเหตุการณ์โลกภายนอกอย่างกระจ่างแจ้ง ทั้งยังได้เสด็จธุดงค์จาริกไปนมัสการปูชนียสถานตามหัวเมืองห่างไกล ที่ทำให้ทรงทราบสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรเป็นอย่างดี
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่จึงมีมติให้อัญเชิญเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นครองราชย์สมบัติ ในวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ ขณะที่มีพระชนมายุได้ ๔๖ พรรษา


พระราชภารกิจที่สำคัญ


- การทำสนธิสัญญากับอังกฤษ เพื่อแลกกับเอกราชของประเทศ ยอมให้ตั้งสถานกงสุลและมีสิทธิสภาพนอกราชอาณาเขต ยอมเลิกระบบการค้าผูกขาดเป็นการค้าเสรี เก็บภาษีขาเข้าในอัตราร้อยชักสาม
- ทรงปรับปรุงการรักษาความมั่นคงของประเทศ มีการตั้งข้าหลวงปักปันพระราชอาณาเขตชายแดนด้านตะวันตกร่วมกับอังกฤษ ทรงจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวยุโรปมาสำรวจทำแผนที่พระราชอาณาเขตชายแดนด้านตะวันออก จ้างนายทหารยุโรปมาฝึกสอนวิชาทหารแบบใหม่ ทรงให้ต่อเรือกลไฟขึ้นใช้หลายลำและผลจากการทำสัญญากับอังกฤษทำให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองมาก
- พระองค์จึงขยายพระนครออกไปทางทิศตะวันออก ได้มีการขุดคลองและสร้างถนนขึ้นมากมาย เช่น คลองผดุงกรุงเกษม คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสะดวก ถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร
- ได้เกิดกิจการแบบตะวันตกขึ้นหลายอย่าง เช่น ใช้รถม้าเดินทาง มีตึกแบบฝรั่ง มีโรงสีไฟ โรงเลื่อยจักร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการรับชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการ ออกหนังสือราชกิจจานุเบกษา ตั้งโรงกษาปณ์ ฯลฯ - พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเสรีภาพในการนับถือศาสนา เพราะทรงเห็นว่าไม่มีผลต่อกิจการแผ่นดิน
- พระองค์ได้ทรงบัญญัติกฎหมายขึ้นเกือบ 500 ฉบับ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เต็มไปด้วยมนุษยธรรม
- พระองค์ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ ทรงยอมรับวิชาการทางตะวันตกมาใช้ เช่น การถ่ายรูป การก่อสร้าง และงานเครื่องจักร เป็นต้น ทั้งยังทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านดาราศาสตร์ คือ ทรงคำนวณเวลาเกิดสุริยุปราคาหมดดวงในประเทศไทย ที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ได้ว่าจะเกิดขึ้นวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ เวลา ๑๐.๓๒ นาฬิกา เวลาดวงอาทิตย์มืดเต็มดวง คือ ๖ นาที ๔๖ วินาที และเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นจริงตามที่ทรงคำนวณไว้ทุกประการ


ในการเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนั้นทำให้พระองค์ประชวรด้วยไข้จับสั่นอย่างแรง และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ สิริพระชนมายุได้ ๖๔ พรรษา รวมเวลาครองราชย์ได้ ๑๗ ปีเศษ













พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อพระชนมายุ ๑๓ พรรษา ทรงเป็นกรมขุนพินิตประชานาถ เสวยราชย์เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑
ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ พรรษา โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน จนถึง พ.ศ. ๒๔๑๖ ทรงบรรลุนิติภาวะ พระชนมพรรษาครบ ๒๐ พรรษา จึงมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ ทรงครองราชสมบัติยาวนานถึง ๔๒ ปี สวรรคตเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓


พระราชกรณียกิจที่สำคัญ


เพื่อให้ไทยเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศและรอดพ้นจากภัยจักรวรรดินิยมที่กำลังคุกคามภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ขณะนั้น รัชกาลที่ 5 ทรงพัฒนาและปรับปรุงประเทศทุกด้าน เช่น
การปกครอง
ทรงปฏิรูปการปกครองใหม่ตามอย่างตะวันตก แยกการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือการปกครองส่วนกลาง แบ่งเป็นกระทรวงต่างๆ การปกครองส่วนภูมิภาคโดยระบบเทศาภิบาลและการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปสุขาภิบาล กฎหมายและการศาล
ให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบศาลยุติธรรม เป็นการแยกอำนาจตุลาการออกจากฝ่ายบริหารเป็นครั้งแรก ยกเลิกจารีตนครบาล
ที่ใช้วิธีโหดร้ายทารุณในการไต่สวนคดีความ ตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น และประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญาอันเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย การปรับปรุงกฎหมายและการศาลนี้เป็นลู่ทางที่ทำให้ประเทศไทยสามารถแก้ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตได้ในภายหลัง
สังคมและวัฒนธรรม
ทรงยกเลิกระบบทาสและระบบไพร่ ให้ประชาชนมีอิสระในการดำรงชีวิต ยกเลิกประเพณีที่ล้าสมัย และรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา
การเงิน การธนาคารและการคลัง
ผลจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทำให้เศรษฐกิจการค้าขยายตัว มีชาวต่างประเทศเข้ามาทำกิจการในประเทศไทยมากขึ้น รัชกาลที่ ๕ จึงให้ออกใช้ธนบัตรและมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอนเป็นครั้งแรก ทรงอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ของต่างประเทศเข้ามาตั้งสาขาและสนับสนุนให้คนไทยตั้งธนาคารพาณิชย์ขึ้น ในด้านการคลัง มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรก และปรับปรุงระบบจัดเก็บภาษีอากรให้มีประสิทธิภาพขึ้น
สาธารณูปโภค
ทรงให้สร้างถนนเพิ่มเติม ขุดคลองใหม่และลอกคลองเดิม เพื่อใช้ในการคมนาคมและขยายพื้นที่เพาะปลูก ทรงริเริ่มให้จัดกิจการสาธารณูปโภคหลายอย่างขึ้นเป็นครั้งแรก เช่น รถไฟ รถราง โทรเลข ไปรษณีย์ โทรศัพท์ ไฟฟ้า ประปา การ
แพทย์และการสาธารณสุข
ทรงปรับปรุงกิจการด้านนี้ให้เป็นแบบสมัยใหม่ เช่น ตั้งโรงพยาบาลวังหลัง (ศิริราช) สภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย) กรมสุขาภิบาล โรงเรียนสอนแพทย์ โรงเรียนผดุงครรภ์และพยาบาล เป็นต้น
การศึกษา
มีการสร้างโรงเรียนหลวง เพื่อให้การศึกษาแก่ราษฎรและทรงส่งพระราชโอรสและพระบรมวงศานุวงศ์ไปศึกษาต่างประเทศ จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาก็เพื่อฝึกคนให้มีความรู้สำหรับเข้ารับราชการ
การศาสนา
โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์ จัดตั้งสถานศึกษาสงฆ์ คือ มหามกุฏราชวิทยาลัย และให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก
การทหาร
ทรงปรับปรุงหน่วยทหารและอาวุธยุทธภัณฑ์ให้ทันสมัย ตั้งกรมยุทธนาธิการซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวงกลาโหม ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก โรงเรียนนายเรือ และตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารขึ้นใช้เป็นครั้งแรก
ในการปรับปรุงพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เนื่องจากในขณะนั้นคนไทยมีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิทยาการสมัยใหม่ยังมีน้อย รัชกาลที่ ๕ จึงต้องทรงจ้างชาวต่างประเทศเข้ามาเป็นที่ปรึกษาและรับราชการเป็นจำนวนมาก ส่งวนใหญ่เป็นชาวตะวันตก เช่น อังกฤษ อเมริกัน เยอรมัน ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก ที่เป็นชาวตะวันออกก็มีอยู่บ้าง เช่น ญี่ปุ่น ลังกา ปรากฏว่าชาวต่างประเทศที่จ้างมาทำงานได้ผลดีสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก บางคนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นถึงพระยา เจ้าพระยานอกจากนี้รัชกาลที่ 5 ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ โดยได้เสด็จประพาสสิงคโปร์ของอังกฤษและเกาะชวาอาณานิคมของฮอลันดา ต่อมาเสด็จประพาสอินเดียซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ทรงนำความเจริญของดินแดนเหล่านี้มาประกอบในการพัฒนาประเทศไทย
ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ รัชกาลที่ ๑ เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๑ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ กว่า ๑๐ ประเทศ เป็นผลดีต่อฐานะของประเทศไทยในสังคมระหว่างประเทศ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๙ ๒ - ๒๔๕๐ ได้เสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งที่ ๒ เพื่อเยี่ยมพระราชโอรสที่ศึกษาอยู่ในประเทศต่างๆ และรักษาพระองค์ตามที่แพทย์ถวายคำแนะนำ ในโอกาสเดียวกันทรงได้เจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองกับประเทศต่าง ๆ ด้วย แม้ว่ารัชกาลที่ ๕ จะทรงพัฒนาประเทศทุก ๆ ด้าน และพยายามผูกมิตรกับประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ แต่ประเทศไทยก็ยังไม่อาจรอดพ้นภัยจากลัทธิล่าอาณานิคมโดยสิ้นเชิง ดังเช่นเกิดพิพาทกับฝรั่งเศสจนถึงขั้นปะทะกันที่ปากน้ำ สมุทรปราการ ซึ่งเรียกว่าเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) เป็นต้น รัชกาลที่ ๕ ต้องทรงยอมเสียดินแดนบางส่วนให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ เพื่อรักษาเอกราชและดินแดนส่วนใหญ่ไว้ ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อประชาชนชาวไทยและประเทศไทยอย่างใหญ่หลวง จึงทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า พระปิยมหาราช อันหมายถึงว่า ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย และในโอกาสครบรอบ ๑๕๐ พรรษาแห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องให้พระองค์เป็นบุคคลสำคัญและมีผลงานดีเด่นของโลกทางสาขาการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา การพัฒนาสังคมและสื่อสาร

หน่วยที่3 มามีส่วนร่วมกันเถอะ

วิถีไทย : ความรู้เรื่องชีวิตของคนไทย
วิถีไทย หมายถึง แนวทางการดำเนินชีวิตของคนไทยตั้งแต่เกิดจนตาย วิถีไทย จึงเป็นแหล่งรวมความรู้เรื่องสังคม วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ภูมิปัญญาของคนไทย การประพฤติ ปฏิบัติ การศึกษาอบรม และการสืบทอดวัฒนธรรมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
วิถีไทยที่จะกล่าวถึง มีดังนี้
1. ขนบธรรมเนียมประเพณี
2. การละเล่นพื้นบ้าน รวมไปถึงละคร ระบำ การเล่นของเด็ก
3. ศิลปะ สถาปัตยกรรม และงานฝีมือ
4. นิทาน ตำนาน ประวัติ เพลง ภาษิต ปริศนาคำทาย ความเชื่อ โชคลาง ภาษา วรรณกรรม
กระต่ายกับหอยขม
5. งาน อาชีพ เครื่องมือทำมาหากิน
6. การท่องเที่ยว และพักผ่อนหย่อนใจ
7. อาหารและเครื่องนุ่งห่ม








วิถีไทยปัจจุบัน
ปุ่มต่อไปนี้บอกความเคลื่อนไหวที่เป็นปัจจุบัน ท่านสนใจกดค้นหาความรู้หรือความเคลื่อนไหวได้



ปุ่มภาพไทย แสดงภาพเขียนชีวิตไทย
ปุ่มไทยวิทยา คือ ห้องสมุด
ปุ่มไทยสาส์น คือ ถาม-ตอบและฝากข่าวประชาสัมพันธ์
ปุ่มไทยญาติ คือ สมุดเยี่ยม
เจตนารมณ์
เว็บไซด์วิถีไทยมุ่งเพื่อการศึกษาให้คนไทยและชาวต่างประเทศทั่วโลก ได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตคนไทย ความรู้ที่เสนอจะมีหลักฐาน แหล่งค้นคว้า และข้อมูลอ้างอิงเสมอ สามารถสืบค้นหรือหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ การอ้างอิงจัดทำอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าทำรายงาน เพื่อให้เกียรติ และประกาศเกียรติคุณเจ้าของผลงานที่นำมาอ้างอิง ณ.ที่นี้ด้วย
ผู้รู้ท่านใดเห็นว่าความรู้เรื่องไทยของท่านมีประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ กรุณาส่งข้อมูลต่างๆเข้ามา เรายินดีรับและเสนอต่อประชาคมโลก เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เบ้าหลอมวัฒนธรรม

อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก
ที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย

การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่าง ๆ
มีผลต่อสังคมไทยหลายด้านวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก
ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมบางอย่าง
ได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิมของคนไทย
ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง


1. วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทยมีมาตั้งแต่
ก่อนการตั้งอาณาจักรของคนไทย เช่น สุโขทัย ล้านนา ซึ่งมีทั้ง
วัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย จีน เปอร์เซีย เพื่อนบ้าน เช่น เขมร
มอญ พม่า โดยผ่านการติดต่อค้าขาย การรับราชการของชาว
ต่างชาติ การทูต และการทำสงครามสำหรับตัวอย่างอิทธิพล
ของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้


1. ด้านอักษรศาสตร์ เช่น ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัย
สุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม รับภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต
จากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
จากอินเดีย เขมร นอกจากนี้ ในปัจจุบันภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี
ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น

2. ด้านกฎหมาย มีการรับรากฐานกฎหมาย มีการรับรากฐาน
กฎหมายอินเดีย ได้แก่ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ โดยรับผ่านมาจาก
หัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัย
อยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น


3. ด้านศาสนา พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมา
เป็นเวลายาวนานแล้ว ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ เช่น
ทวารวดี หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา หรือสุโขทัย รับ
พระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักร
อื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม
ของคนไทยตลอดมา นอกจากนี้ คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือ
ศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่ รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่
คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยา
เป็นต้นมา


4. ด้านวรรณกรรม ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์
มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย เรื่องอิเหนาจากชวา ในสมัย
รัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน เช่น สามก๊กไซอิ๋ว
วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น ราชาธิราชของชาวมอญ อาหรับราตรี
ของเปอร์เซีย เป็นต้น

5. ด้านศิลปวิทยาการ เช่น เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการ
ทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรม
เนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย ศรีลังกา

6. ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต เช่น คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู
รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง เครื่องเทศจากอินเดีย รับวิธีการ
ปรุงอาหารแบบผัด การใช้กะทะ การใช้น้ำมันจากจีน ในด้านการ
แต่งกาย คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย เป็นต้น




2. วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร สถาปัตยกรรม
ศิลปวิทยาการ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา
คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยน
แปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบันดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตก
ที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้


1. ด้านการทหาร เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมา
ตั้งแต่อยุธยา โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้ มีการสร้างป้อมปราการตาม
แบบตะวันตก เช่น ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ออกแบบ
โดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษ
เข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหาร
มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก


2. ด้ารการศึกษา ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง
เช่น พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการ
ตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษา
อังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก ในสมัยรัชการลที่ 5
มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่ ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษา
แบบใหม่ ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศ
ต่าง ๆ เช่น โรงเรียนแพทย์ โรงเรียนกฎหมาย ในสมัยรัชกาลที่ 6
มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



3. ด้านวิทยาการ เช่น ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณ
การเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งเริ่ม


ในสม้ยรัชกาลที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งโรงพยาบาล โรงเรียน
ฝึกหัดแพทย์และพยาบาล ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้น
ฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน ด้านการพิมพ์ เริ่มจาก
การพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387 ชื่อ "บางกอกรีคอร์เดอร์" การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น
ในด้านการสื่อสารคมนาคม เช่น การสร้างถนน สะพาน โทรทัศน์
โทรศัพท์ กล้องถ่ายรูป รถยนต์ รถไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก







4. ด้านแนวคิดแบบตะวันตก การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิด
ทางการปกครอง เช่น ประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ สาธารณรัฐแพร่เข้า
มาในไทย และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
นอกจากนี้ วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูป
แบบการประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ
ในสังคมไทย เช่น การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย เช่นงานเขียนของดอกไม้สด ศรีบูรพา





5. ด้านวิถีการดำเนินชีวิต การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์
ต่าง ๆ มาใช้ ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป
เช่น การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ การนั่งเก้าอี้แทน
การนั่งพื้น การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก
การปลูกสร้างพระราชวัง อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก ตลอดจนนำ
กีฬาของชาวตะวันตก เช่น ฟุตบอล กอล์ฟ เข้ามาเผยแพร่ เป็นต้น

หน่วยการเรียนรู้ที่1

ภูมิปัญญาไทย



ภูมิปัญญาไทย ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ความสามารถ วิธีการผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า รวบรวม และจัดเป็นความรู้ ถ่ายทอด ปรับปรุง จากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลิตผลที่ดี งดงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ สามารถนำมาแก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตได้แต่ละหมู่บ้าน แต่ละชุมชนไทย ล้วนมีการทำมาหากินที่สอดคล้องกับภูมิประเทศ มีผู้นำที่มีความรู้ มีฝีมือทางช่าง สามารถคิดประดิษฐ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาของชาวบ้านได้ ผู้นำเหล่านี้ เรียกว่า ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ทรงภูมิปัญญาไทย


ลักษณะของภูมิปัญญาไทย

1. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม

2. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ

3. ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน

4. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม

5. ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ

6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะ หรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง

7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม
ภูมิปัญญาไทยสามารถจัดแบ่งได้ 10 สาขา


จากการศึกษาพบว่า มีการกำหนดสาขาภูมิปัญญาไทยไว้อย่างหลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่หน่วยงาน องค์กร และนักวิชาการแต่ละท่านนำมากำหนด ในภาพรวมภูมิปัญญาไทยสามารถแบ่งได้เป็น 10 สาขาดังนี้

1. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในภาวการณ์ต่างๆ ได้

2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลิตผล เพื่อชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรม อันเป็นกระบวนการที่ทำให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้

3. สาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้

4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการสะสมและบริการกองทุน และธุรกิจในชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์ เพื่อส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุม

6. สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคน ให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

7. สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะสาขาต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ ศิลปะมวยไทย เป็นต้น

8. สาขาการจัดการองค์กร หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการดำเนินงานขององค์กรชุมชนต่างๆ ให้สามารถพัฒนา และบริหารองค์กรของตนเองได้ตามบทบาท และหน้าที่ขององค์การ เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มประมงพื้นบ้าน เป็นต้น

9. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษาทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทยและการใช้ภาษา ตลอดทั้ง ด้านวรรณกรรมทุกประเภท เช่น การจัดทำสารานุกรมภาษาถิ่น การปริวรรต หนังสือโบราณ การฟื้นฟูการเรียนการสอนภาษาถิ่นของท้องถิ่นต่างๆ เป็นต้น

10. สาขาศาสนาและประเพณี หมายถึง ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา ความเชื่อ และประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติ ให้บังเกิดผลดีต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม

คุณค่าของภูมิปัญญาไทย

คนไทยในอดีตที่มีความสามารถปรากฏในประวัติศาสตร์มีมาก เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ เช่น นายขนมต้มเป็นนักมวยไทยที่มีฝีมือเก่งในการใช้อวัยวะทุกส่วน ทุกท่าของแม้ไม้มวยไทย สามารถชกมวยไทย จนชนะพม่าได้ถึงเก้าคนสิบคนในคราวเดียวกัน แม้ในปัจจุบันมวยไทยก็ยังถือว่า เป็นศิลปะชั้นเยี่ยม เป็นที่นิยมฝึก และแข่งขันในหมู่คนไทยและชาวต่างประเทศ ปัจจุบันมีค่ายมวยไทยทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 30,000 แห่ง ชาวต่างประเทศที่ได้ฝึกมวยไทยจะรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจ ในการที่จะใช้กติกาของมวยไทย เช่น การไหว้ครูมวยไทย การออกคำสั่งในการชกเป็นภาษาไทยทุกคำ เช่น คำว่า "ชก" "นับหนึ่งถึงสิบ" เป็นต้น ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาไทย นอกจากนี้ ภูมิปัญญาไทยที่โดดเด่นยังมีอีกมากมาย เช่น มรดกภูมิปัญญาทางภาษาและวรรณกรรม โดยที่มีอักษรไทยเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน วรรณกรรมไทยถือว่าเป็น วรรณกรรมที่มีความไพเราะ ได้อรรถรสครบทุกด้าน วรรณกรรม หลายเรื่องได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา ด้านอาหาร อาหารไทยเป็นอาหารที่ปรุงง่าย พืชที่ใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและราคาถูก มีคุณค่าทางโภชนาการ และยังป้องกันโรคได้หลายโรค เพราะส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย ใบมะกรูด ใบโหระพา

แบบทดสอบ

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์1


ประวัติศาสตร์ไทย

เริ่มขึ้นตั้งแต่การอพยพย้ายเข้ามาของกลุ่มคนพูดภาษาไท-ลาวจากถิ่นบรรพบุรุษ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนเดิม เข้ามายังดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ราวคริสต์ศตวรรษที่ 10 อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานอยู่ก่อนแล้ว โดยมีมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่าเป็นต้นมา คือ ราว 10,000 ปีที่แล้ว แต่สำหรับรัฐของคนไทยแล้ว ตามตำนานโยนกได้บันทึกว่า การก่อตั้งอาณาจักรของคนไทยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1400[1]

การล่มสลายของจักรวรรดิขะแมร์ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทำให้เกิดอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1781 อาณาจักรสุโขทัยขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์[2]

พระเจ้าอู่ทองทรงก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 1893 การเข้าแทรกแซงสุโขทัยอย่างต่อเนื่องทำให้อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรอยุธยาในที่สุด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครองโดยการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง การยึดครองมะละกาของโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2054 ทำให้อยุธยาเริ่มการติดต่อกับชาติตะวันตก อย่างไรก็ตาม ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อราชวงศ์ตองอูของพม่าเริ่มมีอำนาจมากขึ้น การสงครามอันยาวนานนับตั้งแต่ พ.ศ. 2091 ส่งผลให้อยุธยาตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรตองอูในที่สุด ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงประกาศอิสรภาพในอีก 15 ปีต่อมา

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยารุ่งเรืองขึ้นอย่างมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อย่างไรก็ตาม ความสงสัยในตัวของคอนสแตนติน ฟอลคอน ทำให้ถูกสังหารโดยพระเพทราชา อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมอำนาจลงราวพุทธศตวรรษที่ 24 การทำสงครามกับพม่าหลังจากนั้นส่งผลทำให้อยุธยาถูกปล้นสะดมและเผาทำลาย เมื่อปี พ.ศ. 2310 ในที่สุด พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325

การลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมอีกหลายฉบับ ต่อมา แม้จะมีการเสียดินแดนหลายครั้งให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ แต่อาณาจักรสยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก กุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝ่ายเดียวกับฝ่ายพันธมิตร ทำให้สยามได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ อันนำมาซึ่งการแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมทั้งหลาย

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย ทำให้คณะราษฎรเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา โดยมีนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ในระบอบเผด็จการในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และได้มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารผ่านการก่อรัฐประหารหลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยในประเทศเริ่มมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเกิดวิกฤตการณ์การเมือง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548

การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ไทย


การจัดแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ของไทยนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงพระทัศนะไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง "ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร" ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเมื่อ พ.ศ. 2457 ถึงการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของไทยไว้ว่า "เรื่องพระราชพงศาวดารสยาม ควรจัดแบ่งเป็น 3 ยุค คือ เมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานียุค 1"[3] ซึ่งการลำดับสมัยทางประวัติศาสตร์แบบเส้นตรง (Linear) โดยวางโครงเรื่องผูกกับกำเนิดและการล่มสลายของรัฐ กล่าวคือใช้รัฐหรือราชธานีเป็นศูนย์กลางเช่นนี้ ยังคงมีอิทธิพลอยู่มากต่อการเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน มีข้อเสนอใหม่ ๆ เกี่ยวกับโครงเรื่องประวัติศาสตร์ไทยขึ้นมาบ้าง ที่สำคัญคือ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เสนอถึงหัวข้อสำคัญที่ควรเป็นแกนกลางของประวัติศาสตร์แห่งชาติไทยไว้ 8 หัวข้อ ดังนี้[4]

การตั้งถิ่นฐานของผู้คน นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น
การเข้ามาของอารยธรรมใหญ่ คืออินเดียและจีน
ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 13
ยุคสมัยของการค้า (คริสต์ศตวรรษที่ 15-17)
ก่อนสมัยใหม่
รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม
การปฏิวัติ 2475 และกำเนิดรัฐประชาชาติในทางทฤษฎี
การปฏิวัติ 14 ตุลาคม 2516
ยุคก่อนประวัติศาสตร์และรัฐโบราณในประเทศไทย


หลักฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์



นักโบราณคดีชาวฮอลันดา ดร. เอช. อาร์. แวน ฮิงเกอเรน ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินเทาะซึ่งทำขึ้นโดยมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณใกล้สถานีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีข้อสันนิษฐานว่ามนุษย์เหล่านี้อาจเป็น มนุษย์ชาวและมนุษย์ปักกิ่ง[5] ซึ่งอยู่อาศัยเมื่อประมาณ 5 แสนปีมาแล้ว นอกจากนี้ยังพบในจังหวัดอื่น ๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงรายอีกด้วย[5] อันเป็นหลักฐานในยุคหินเก่า

ในประเทศไทยพบหลักฐานของมนุษย์ยุคหินกลางในหลายจังหวัด โดยที่อำเภอไทรโยค ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินและโครงกระดูก จึงทำให้สันนิษฐานว่าดินแดนซึ่งแม่น้ำกลองไหลผ่านได้มีมนุษย์อยู่อาศัยมานานกว่า 20,000 ปี[6] ส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าที่สุดในประเทศไทย อายุเกือบ 1,000 ปี ถูกค้นพบที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน[5] จึงทำให้เกิดแนวคิดที่ว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นถิ่นกำเนิดของการกสิกรรมครั้งแรกของโลก[7] นอกจากนี้ยังค้นพบขวานหินขัดในหลายภาคของประเทศไทย ซึ่งเป็นหลักฐานของมนุษย์ยุคหินใหม่[8]

การขุดค้นโดยนายวิทยา อันทรโกศัย แห่งกรมศิลปากร ทำให้พบโครงกระดูกและเศษผ้าไหมติดกระดูกเครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งคาดว่ามีอายุถึง 3,000 ปี[9] ก่อนที่การค้นพบหลักฐานเพิ่มเติมที่ตำบลโคกพนมดี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งยืนยันว่ามีอายุ 5,000 ปี อาจเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมสูง และเผยแพร่ไปส่ประเทศจีนและส่วนอื่น ๆ ของทวีปเอเชีย[10] นายดอน ที บายาด ยังได้ขุดค้นขวานทองแดงในบ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น ยืนยันถึงการใช้เครื่องสำริดในยุคหินใหม่ ซึ่งเก่าแก่กว่าหลักฐานที่ขุดค้นพบในจีนและอินเดียกว่า 500-1,000 ปี[8]

[แก้] ชนพื้นเมืองและการอพยพเข้ามาในประเทศไทย
นักมานุษยวิทยาได้จัดประเภทมนุษย์สมัยโบราณรุ่นแรกในตระกูลออสโตเนเซียน ซึ่งเป็นพวกที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อหลายพันปีที่แล้ว รวมทั้งเป็นบรรพบุรุษของชนชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบัน[10] ต่อมา มนุษย์ในตระกูลมอญและเขมรจะอพยพเข้ามาจากจีนหรืออินเดียด้วย ก่อนที่พวกไทยจะอพยพเข้ามาแย่งชิงดินแดนจากพวกละว้า ซึ่งเป็นชนชาติล้าหลัง[11] ชาวเขาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันจึงสันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากพวกละว้า

สมัยอาณาจักรสุโขทัย และยุครุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา


ในปี พ.ศ. 1792 - พ.ศ. 1981 ได้มีการสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นเป็นราชธานี ข้อมูลทางประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยช่วงแรกมาจากศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบ กล่าวได้ว่า ในสมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กษัตริย์หรือ พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุข และทรงปกครองประชาชนในรูปแบบ "พ่อปกครองลูก" คือถือพระองค์องค์เป็นเสมือนพ่อ ผู้ใกล้ชิดกับราษฏร สภาพการเมืองและสังคมในสมัยนั้นมีสิทธิและเสรีภาพ กษัตริย์มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ราษฎร การดำรงชีวิตของผู้คนได้รับการรับรองเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ทั้งด้านเกษตรกรรมและค้าขาย ยุคสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ในช่วงเวลาเดียวกันอาณาจักรล้านนา ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1802 โดยพญามังราย ที่ขยายอำนาจมาจากลุ่มแม่น้ำกกและอิง สู่ลุ่มแม่น้ำปิง พญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ และทรงมีสัมพันธ์อันดีกับพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย อาณาจักรเชียงใหม่หรือล้านนา มีอำนาจสืบต่อมาในแถบลุ่มแม่น้ำปิง เชียงใหม่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นนักกับอาณาจักรอยุธยา หรือกรุงศรีอยุธยา ที่เรืองอำนาจในพุทธศตวรรษที่ 19-20 มีการทำสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดเชียงใหม่ได้ปราชัยต่อพม่า ในปีพ.ศ. 2101 ถูกพม่ายึดครองอีกครั้งในราวปี 2310 กระทั่งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2318 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนา โดยหลังจากนั้น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงปกครองอาณาจักรล้านนา ในฐานะประเทศราชสยาม

สมัยอาณาจักรอยุธยา

อยุธยาในช่วงแรกนั้นมิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่าง ๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจได้ นอกจากนี้ยังกลายมาเป็นรัฐมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็ว

ในสมัยอาณาจักรอยุธยามีการติดต่อกับต่างประเทศอยู่หลายชาติ โดยชาวโปรตุเกสได้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากนั้น ชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมากและมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ ชาวดัตช์ ชาวฝรั่งเศส ชาวจีน และชาวญี่ปุ่น

อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล จากทิศเหนือจรดอาณาจักรล้านนา ไปจรดคาบสมุทรมลายูทางทิศใต้ แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อาณาจักรอยุธยาได้ประสบกับความเสื่อมถอย เนื่องมาจากการแย่งอำนาจทางการเมืองระหว่างเจ้านายและขุนนาง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้ามังระได้ส่งกองทัพเข้าปล้นสะดมกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ ซึ่งในประวัติศาสตร์นับว่าเป็นการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ซึ่งซ้ำรอยเดิมกับการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง ในปี พ.ศ. 2112
อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรของคนไทยมาเป็นเวลานานกว่า 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 33 พระองค์

สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ขับไล่ทหารพม่าออกจากแผ่นดินไทย ทำการรวมชาติ และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัยอยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง อย่างไรก็ตาม ภายหลังสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้สถาปนาตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเทพมหานคร เริ่มยุคสมัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1790 กองทัพพม่าถูกขับไล่ออกจากดินแดนรัตนโกสินทร์อย่างถาวร และทำให้แคว้นล้านนาปลอดจากอิทธิพลของพม่าเช่นกัน โดยล้านนาถูกปกครองโดยราชวงศ์ที่นิยมราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามอย่างเป็นทางการ

การเผชิญหน้ากับมหาอำนาจตะวันตก

ภายหลังจากที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2369 พระมหากษัตริย์ไทยในรัชสมัยถัดมาจึงทรงตระหนักถึงภัยคุกคามที่มาจากชาติมหาอำนาจในทวีปยุโรป และพยายามดำเนินนโยบายทอดไมตรีกับชาติเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม สยามมีการเปลี่ยนแปลงดินแดนหลายครั้ง รวมทั้งตกอยู่ในสถานะรัฐกันชนระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ถึงกระนั้น สยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก และเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถรักษาเอกราชของตนไว้ได้



การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย


มื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475[15] ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า คณะราษฎร ได้ทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง จากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของประเทศไทยอย่างมาก และทำให้สถาบันกษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานต้องสูญเสียอำนาจส่วนใหญ่ไปในที่สุด โดยมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 ขึ้นเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างถาวรเป็นฉบับแรก

ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าว การต่อสู้ทางการเมืองยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างผู้นำในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช กับระบอบใหม่ รวมทั้งความขัดแย้งในผู้นำระบอบใหม่ด้วยกันเอง โดยการต่อสู้ทางการเมืองและทางความคิดอุดมการณ์นี้ได้ดำเนินต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลากว่า 25 ปีภายหลังจากการปฏิวัติ และนำไปสู่ยุคตกต่ำของคณะราษฎรในกาลต่อมา ทำให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวถูกมองว่าเป็นพฤติการณ์ "ชิงสุกก่อนห่าม" เนื่องจากชาวไทยยังไม่พร้อมสำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งการปกครองในระยะแรกหลังการปฏิวัติยังคงอยู่ในระบอบเผด็จการทหาร

สงครามโลกครั้งที่สอง

ดูบทความหลักที่ สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการเดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลเอาดินแดนคืนของนิสิตนักศึกษา จอมพลแปลก พิบูลสงคราม จึงส่งทหารข้ามแม่น้ำโขงและรุกรานอินโดจีนฝรั่งเศส จนได้ดินแดนคืนมา 4 จังหวัด ภายหลังการเข้าไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่น โดยมีการรบที่เป็นที่รู้จักกันมาก ได้แก่ การรบที่เกาะช้าง

ต่อมา หลังจากการโจมตีกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ กองทัพญี่ปุ่นก็ได้รุกรานประเทศไทย โดยต้องการเคลื่อนทัพผ่านดินแดน รัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงครามได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น รวมทั้งลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรทางการทหารกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ซึ่งนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลถูกต่อต้านจากทั้งในและนอกประเทศ เนื่องจากไทยประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 แม้ว่าประเทศไทยจะตกอยู่ในสถานะประเทศผู้แพ้สงคราม แต่เนื่องจากการเคลื่อนไหวของขบวนการเสรีไทย ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับ และไม่ถูกยึดครอง เพียงแต่ต้องคืนดินแดนระหว่างสงครามให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส และจ่ายค่าเสียหายทดแทนเท่านั้น

สงครามเย็น

ดูเพิ่มที่ คอมมิวนิสต์ในประเทศไทย, สงครามเกาหลี และ สงครามเวียดนาม
รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาในระหว่างสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในคาบสมุทรอินโดจีน และยังส่งทหารไปร่วมรบกับฝ่ายพันธมิตร ได้แก่ สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม

ประเทศไทยประสบกับปัญหากองโจรคอมมิวนิสต์ในประเทศระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ค่อยจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศสักเท่าไหร่ และกองโจรก็หมดไปในที่สุด

การพัฒนาประชาธิปไตย

หลังจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น ประชาชนมีความพร้อมต่อการใช้อำนาจอธิปไตยเพิ่มมากขึ้น การเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากฝ่ายทหารก็เกิดขึ้นเป็นระยะ กระทั่งในที่สุด ภายหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ฝ่ายทหารก็ไม่สามารถถือครองอำนาจอธิปไตยได้อย่างถาวรอีกต่อไป อำนาจอธิปไตยจึงได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของกลุ่มนักการเมือง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลสามกลุ่มหลัก คือ กลุ่มทหารที่เปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมือง กลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพล และกลุ่มนักวาทศิลป์ แต่ต่อมาภายหลังจากการสิ้นสุดลงของยุคสงครามเย็น โลกได้เปลี่ยนมาสู่ยุคการแข่งขันกันทางการค้าซึ่งมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก กลุ่มการเมืองที่มาจากกลุ่มทุนนิยมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทแทน

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิชาประวัติศาสตร์
ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 10 ปีมีค่าขนาดไหน ถามคู่แต่งงานที่เพิ่งหย่าร้างกัน

ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 4 ปีมีค่าขนาดไหน ถามนิสิตนักศึกษาที่เพิ่งรับปริญญาจากมหาวิทยาลัย

ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 1 ปีมีค่าขนาดไหน ถามนักเรียนที่สอบไล่ตก

ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 9 เดือนมีค่าขนาดไหน ถามแม่ที่เพิ่งคลอดลูก

ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 1 เดือนมีค่าขนาดไหน ถามมารดาที่คลอดบุตรยังไม่ครบกำหนด

ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 1 อาทิตย์มีค่าขนาดไหน ถามบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์

ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 1 ชั่วโมงมีค่าขนาดไหน ถามคนรักที่รอพบกัน

ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 1 นาฑีมีค่าขนาดไหน ถามคนที่พลาดรถไฟ รถประจำทาง หรือเรือบิน

ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 1 วินาฑีมีค่าขนาดไหน ถามคนที่รอดตายจากอุบัติเหตุอย่างหวุดหวิด

ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลาเสี้ยวหนึ่งของวินาฑีมีค่าขนาดไหน ถามนักกีฬาโอลิมปิคที่ชนะเหรียญเงิน

ถ้าท่านอยากรู้ว่ามิตรภาพมีค่าขนาดไหน เมื่อได้เสียเพื่อนรักสักคนหนึ่ง

เวลาไม่เคยรอใคร เมื่อมันผ่านไปแล้ว มันจะไม่กลับมาอีก จงใช้เวลาของท่านทุกขณะอย่างดีที่สุด

ท่านจะรู้คุณค่าของเวลาเมื่อท่านแบ่งปันกับคนที่พิเศษสุดในชีวิตของท่าน

ขอขอบคุณทุกท่านที่รู้คุณค่าของเวลา นะครับ

ปราชญ์พเนจร

2. วิธีการทางประวัติศาสตร์


ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์


ความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์

สำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์นั้น มีปัญหาที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ อดีตที่มีการฟื้นหรือจำลองขึ้นมาใหม่นั้น มีความถูกต้องสมบูรณ์และเชื่อถือได้เพียงใดรวมทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่นำมาใช้เป็นข้อมูลนั้น มีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีอยู่มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจำได้หมด แต่หลักฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน
ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ฝึกฝนทางประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ

ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์ ::
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร


ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ)
การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรอง
ในการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง
การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้อง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ


ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก
การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายใน
การวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความเป็นจริง


ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน

ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน
การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่ง
อาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
ในการตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่
ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น
ในขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา
หลักการทำโครงงานสังคมศึกษา ๑
SATURDAY, 1. AUGUST 2009, 02:02:09
หลักการทำโครงงาน
หลักการทำงานโครงงาน สังึคมศึกษา มีหลักการเช่นเดียวกับโครงงานสาระวิชาอื่น แต่มีจุดหมายต่างกัน ในที่นี้ กล่าวถึงหลักการ และนำสาระประวัติศาสตร์มาเป็นตัวแบบ แบ่งเป็น ๒ ตอน ในตอนแรกนี้เป็นการทำความเข้าใจความคิดและองค์ประกอบพื้นฐาน ส่วนรายละเอียดในการทำโครงงานจะกล่าวในตอนต่อไป

3.หลักการทำโครงงานสังคมศึกษา
สมประสงค์ น่วมบุญลือ

ความหมายของโครงงาน

มีผู้ให้ความหมายโครงงานไว้ต่าง ๆ กัน เช่น

โครงงาน คือ การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติ โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์

โครงงาน (Project) เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยปรัชญาของการทำงานโครงงานก็เพื่อประมวลความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนตลอดจนเพื่อแสวงหาคำตอบของปัญหาที่นักเรียนสนใจ

โครงงาน หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องราวที่ผู้เรียนมีความสนใจ และเกิดปัญหาข้อสงสัยในการค้นคว้าหาคำตอบ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

โครงงานเป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้งหรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆให้มากยิ่งขึ้นโดยใช้วิธีการศึกษาอย่างมีระบบขั้นตอน มีการวางแผนศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้นๆโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์เป็นการศึกษาค้นคว้า เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้งหรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆให้มากยิ่งขึ้นโดยใช้วิธีการศึกษาอย่างมีระบบขั้นตอน มีการวางแผนศึกษา อย่างละเอียด ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้นๆ

โครงงาน คือ การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าในประเด็นที่ตนสนใจ โดยใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์เพื่อตอบประเด็น ด้วยการกำหนดเป้าหมาย ตั้งสมมุติฐาน กำหนดขอบเขต (วัตถุประสงค์) แหล่งความรู้ (ข้อมูล) การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล (ด้วยหลักเหตุผล) สรุปประเด็นที่ค้นพบ และนำเสนอ ในลักษณะที่เป็นชิ้นงาน (สมประสงค์ น่วมบุญลือ)

พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงงาน
วิทยาศาสตร์ คือ กระบวนการหาคำตอบ (ความรู้) จากการสัมผัส (ได้ด้วยประสาททั้ง ๕ เรียกว่าข้อมูล หรือ หลักฐานประจักษ์) และนำมาวิเคราะห์ด้วยหลักเหตุผล (เพื่อทำให้เกิดการปักใจเชื่อว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นจริงหรือเท็จ) และสรุปเป็นหลัก
กระบวนการวิทยาศาสตร์ คือ กระบวนการหาคำตอบจากการสัมผัสและนำมาวิเคราะห์ด้วยหลักเหตุผล เพื่อทำให้เกิดการปักใจเชื่อว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นจริงหรือเท็จ และสรุปเป็นหลัก มีหลักสำคัญ ๓ ประการ คือ ๑) มีจุดหมายในการหาคำตอบจาก ๒) หลักฐานประจักษ์ และ ๓) สรุปจากการโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลด้วยเหตุและผล

สังคมศาสตร์ คือ การนำกระบวนการวิทยาศาสตร์มาศึกษาสังคม

ศึกษาศาสตร์ คือ สังคมศาสตร์ที่ศึกษาในด้านการถ่ายทอดความรู้และพัฒนามนุษย์ในสังคม

สังคมศึกษา คือ การศึกษาที่ถ่ายทอดและพัฒนามนุษย์ในด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (ทั้งทางกายภาพและสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้น)

ประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาพฤติกรรมสังคมมนุษย์ในอดีตด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดยใช้การแปลความหมายจากการบันทึกเป็นหลัก (คือ สังคมศาสตร์ที่ศึกษาสังคมมนุษย์ในอดีต)
โครงงานประวัติศาสตร์ คือ การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามประเด็นที่ผู้เรียนสนใจ โดยใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาคำตอบประเด็นดังกล่าว และนำเสนอในรูปชื้นงาน


4.พัฒนาการชาติไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้านการปกครอง การเมือง เศษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

การปกครองของไทยแต่เดิม มีลักษณะเช่นเดียวกับการปกครองชาติอื่น ๆ คือมีการรวมกลุ่มกันอยู่เป็นหมู่เป็นเหล่าบางแห่งก็รวมกันเข้าเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีหัวหน้าเป็นผู้ปกครองดูแลรับผิดชอบให้ความคุ้มครองป้องกันภยันตรายตามควรแก่ฐานะทำนองหัวหน้าหรือนายกับลูกน้องอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของกลุ่มตกอยู่แก่หัวหน้าสิ้นเชิง โดยมีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นเครื่องกำกับยึดเหนี่ยว ต่อมาเมื่อมีพลเมืองเพิ่มมากขึ้นปัญหาเรื่องการทำมาหากินโดยอาศัยผืน แผ่นดินเป็นหลักและความสำคัญในเรื่องพื้นที่และดินแดนจึงเกิดขึ้น มีการกำหนดของอาณาเขตการปกครองของกลุ่ม และหมู่ชนชาติไทยเป็นกลุ่มชนชาติใหญ่ที่มีระเบียบการปกครองและวัฒนธรรมสูงจีนยกย่องเรียกว่า "ไต๋" "ชาติใหญ่" ประกอบกับชาวไทยมีคุณธรรมประจำชาติ ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวว่า ชนชาติไทยมีคุณธรรม 3 ประการ เป็นสำคัญจึงสามารถปกครองประเทศสยาม ได้คือ ความรักอิสระของชาติความปราศจากวิหิงสาและความฉลาดในการประสานประโยชน์ถ้าจะเรียกเป็นภาษาอังกฤษ คือ Love of national independence, Toleration and Power of assimilation สำหรับการจัดรูปการปกครองของไทยแต่เดิม จากพงศาวดารและหลักฐานอ้างอิง พอสันนิฐานได้ว่าไทยในสมัยน่านเจ้านั้นการปกครองในส่วนกลางแบ่งออกเป็น 9 กระทรวง คือ
1. ฮินสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงมหาดไทย
2. โม่วสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงกลาโหม
3. ม่านสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงการคลัง
4. ยันสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ
5. หว่อสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงพาณิชย์
6. ฝัดสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงยุติธรรม
7. ฮิดสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงโยธาธิการ
8. จุ้งสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงสำมะโนครัว
9. ฉื่อสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงวังหรือราชประเพณี
การบริหารงานของราชการส่วนกลางมีอภิรัฐมนตรีรัฐมนตรีหรือเสนาบดี ปลัดกระทรวง อธิบดีเจ้ากรมปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบตามลำดับ
ส่วนการปกครองในภูมิภาคแบ่งเขตการปกครองเป็นมณฑลแต่ละมณฑลมีเมืองเอกโทตรีและจัตวามีหัว หน้าปกครองลดหลั่นกันไปได้แก่ เจ้าหัวเมืองเอก เจ้าหัวเมืองโท เจ้าหัวเมืองตรีและเจ้าหัวเมืองจัตวาแต่ละเมืองแบ่งออกเป็นแขวงมีนายอำเภอเป็นหัวหน้ารองจากแขวงเป็นแคว้นมีกำนันเป็นหัวหน้า จากแคว้นจึงเป็นหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้ารับผิดชอบซึ่งรูปแบบการปกครองดังกล่าวนี้มีลักษณะคล้ายกับการปกครองในแบบปัจจุบันมาก


อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ สมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็นและภูเขาพนมดงรัก ทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้น ของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981
ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนในครอบครัว คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อ หรือข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนในครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ ศาสตราจารย์ James N. Mosel ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปกครองของไทยในสมัยกรุงสุโขทัยไว้ว่า มีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกกับการดำเนินการปกครองแบบหัวเมืองขึ้น
สำหรับการปกครองแบบบิดากับบุตรนี้ในปาฐกถาของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยาม แต่โบราณได้อธิบายไว้ว่าวิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น บิดาปกครองครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็นเมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมือง รวมกันเป็นประเทศที่อยู่ในความปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่า ลูกขุน
วิธีการปกครองของไทยเป็นอย่างบิดาปกครองบุตรยังใช้หลักในการปกครองประเทศไทยมาจนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำว่าปกครองแบบ พ่อปกครองลูก นี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าแผ่นดินสมัยสุโขทัยตอนต้น ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่า พ่อขุน จนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้เปลี่ยนไปใช้คำว่า พระยา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูกได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายไป
การปกครองสมัยสุโขทัยระยะแรก เป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นเหมือนหัวหน้าครอบครัวใหญ่ที่สุด ทรงปกครองดูแลราษฎรอย่างใกล้ชิดเหมือนพ่อปกครองลูก โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ใดมีเรื่องเดือดร้อนก็สามารถเข้าเฝ้าถวายฎีการ้องทุกข์ต่อพ่อขุนได้โดยตรง ดังข้อความในจารึกหลักที่ 1 ความว่า
"ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้นั้น
ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมือง
มีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจ
มันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้
ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้
พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยิน
เรียกเมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ
ไพร่ในเมืองสุโขทัยจึงชม"
รูปแบบของการปกครองในสมัยสุโขทัยตอนปลายเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดเจน ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) โดยพระพุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในด้านการปกครอง ผู้ปกครองได้นำหลักธรรมทางศาสนามาเป็นแนวทางในการปฏิบัติเรียกว่า ธรรมราชา หรือ ธรรมในการปกครอง
การปกครองราชธานีและหัวเมืองต่าง ๆ แบ่งออกเป็น
1. เมืองหลวงหรือราชธานี อาณาจักรสุโขทัยมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองหลวงหรือราชธานีเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองดูแลเอง
2. หัวเมืองชั้นใน หรือเมืองลูกหลวง ตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ หัวเมืองชั้นในพ่อขุนจะแต่งตั้งพระญาติวงศ์ใกล้ชิดไปปกครอง
3. หัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร ผู้ปกครองเมืองได้แก่ เจ้านายหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่พ่อขุนโปรดเกล้าฯ ให้ไปปกครองเมืองนั้น ๆ
4. เมืองประเทศราช เมืองที่อยู่นอกอาณาจักร ชาวเมืองเป็นคนต่างชาติ พ่อขุนจะกำหนดให้เจ้านายของเมืองนั้น ๆ ปกครองกันเอง แต่ต้องถวายเครื่องราชบรรณาการต่อพระเจ้ากรุงสุโขทัยตามกำหนด

การปกครองระบบบิดากับบุตรนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะบิดาทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาด ถ้าได้พิจารณาถ่องแท้แล้วก็จะเห็นว่า ถ้าผู้ปกครองประเทศคือพระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนหนึ่งบุตรประชาชนก็ย่อมจะได้รับความผาสุกแต่ถ้าการปกครองดังกล่าวมีลักษณะเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายสวัสดิภาพของประชาชนในสมัยนั้นก็น่าจะไม่มีความหมายอะไร อย่างไรก็ดีการที่จะใช้ระบบการปกครองอย่างใดจึงเหมาะสมนั้นนอกจากขึ้นอยู่กับสภาวการณ์ต่างๆในแต่ละสมัยแล้วการเลือกใช้วิธีการปกครองระบบบิดากับบุตรในสมัยนั้นน่าจะถือเอาการปกครองประเทศเป็นนโยบายสำคัญ


กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัยมาก่อน เมื่อสิ้นรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง ปรากฏว่าหัวเมืองมอญซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นได้ก่อการกบฏ กรุงสุโขทัยนั้นไม่สามารถปราบปรามได้ พระเจ้าอู่ทองทรงเห็นว่ากรุงสุโขทัยอ่อนอำนาจลง จึงประกาศอิสรภาพและทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วยการเปลี่ยนแปลงตามแบบขอม คือ แบบเทวสมมติ (Divine rights)
ลักษณะสำคัญของการปกครองระบบเทวสมมติหรือเทวสิทธิ์นี้ มีข้อน่าสังเกตอยู่ 3 ประการ คือ
1. รัฐเกิดโดยพระเจ้าบงการ
2. พระเจ้าทรงเป็นผู้แต่งตั้งผู้ปกครองรัฐ
3. ผู้ปกครองรัฐมีความรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงผู้เดียว
ระบบเทวสิทธิ์นี้ ถือคติการปกครองมาจากขอมและฮินดูโดยแบ่งแยกผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครองออกจากกัน พระมหากษัตริย์ถูกยกย่องให้เป็นสมมุติเทพเช่นพระอิศวรหรือพระนารายณ์ การปกครองแบบเทวสิทธิ์ กระทำให้ชนชั้นปกครองกลายเป็นชนชั้นหนึ่งต่างหาก มีอภิสิทธิ์เสมือนเทพเจ้าตามคติของฮินดู ราษฎรกลายเป็นผู้อยู่ใต้อำนาจและผู้ถูกปกครองอย่างแท้จริง สมบูรณาญาสิทธิราชถือกำเนิดมาจากระบบนี้และเป็นที่มาของลัทธิมูลนายกับบ่าวหรือทาส และระบบศักดินา"
ลักษณะการปกครองสมัยโบราณนั้น มีเค้าเงื่อนปรากฏเป็นลักษณะการปกครอง 2 แบบ คือ แบบหนึ่งเป็นแบบขอมเข้ามาครอบครองถิ่นฐานประเทศอยู่เดิม ขอมมีการปกครองตามคติที่ได้มาจากอินเดีย ส่วนไทยปกครองอย่างแบบไทยเดิม ส่วนทางใต้ปกครองตามแบบขอมเพราะขอมยังมีอำนาจอยู่ในเมืองต่าง ๆ เช่น ละโว้และเมืองอื่น ทางใต้การปกครองของขอมและของไทยมีที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ ถืออาญาสิทธิ์ของพระเจ้าแผ่นดินเป็นใหญ่ ต่างก็มีพระมหากษัตริย์ด้วยกันทั้งสองแบบแต่ของขอมนั้นถือลัทธิตามชาวอินเดีย คือสมมุติพระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ พระอิศวรหรือพระนารายณ์แบ่งภาคมาเลี้ยงโลกและอาศัยความเป็นเจ้าตำราการปกครองลักษณะการที่ขอมเข้าปกครองราษฎร จึงคล้ายกับนายปกครองบ่าว (Autocratic government) ส่วนการปกครองของไทยนั้น นับถือพระจ้าแผ่นดินเป็นบิดาของประชาชน วิธีการปกครองก็เอาลักษณะการปกครองของสกุลมาเป็นคติ และถือว่าบิดาเป็นผู้ปกครองครัวเรือน
ต่อมาในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ทรงได้ปรับปรุงระบอบการปกครองใหม่ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้อำนวยการปกครองเรียกการปกครองแบบนี้ว่า การจัดระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็นราชธานีและเมืองพระยามหานครตามที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าราชธานีมีวงเขตแคบลงทั้งนี้ก็ด้วยมีความประสงค์ให้หัวเมืองชั้นในติดต่อกับราชธานีได้โดยสะดวก ส่วนหัวเมืองชั้นนอกอันเป็นเมืองพระยามหานครนั้นอยู่ห่างไกลออกไปจากราชธานี เมื่อการคมนาคมยังไม่เจริญ ก็ย่อมติดต่อกับราชธานีได้โดยมากราชการบริหารส่วนกลางไม่สามารถควบคุมดูแลได้อย่างใกล้ชิด เมืองพระยามหานคร จึงเกือบไม่ขึ้นต่อราชการบริหารส่วนกลางเลย เจ้าเมืองผู้ปกครองเมืองเหล่านั้นเป็นผู้แทนพระมหากษัตริย์และได้รับการมอบหมายให้ใช้อำนาจแทนพระมหากษัตริย์ ทั้งในทางการปกครอง และในทางตุลาการ
เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองแล้วก็มีอำนาจที่จะปกครองเมืองได้อย่างเต็มที่ เกือบไม่ต้องขึ้นหรือคอยรับคำสั่งจากราชธานีด้วยเหตุนี้เมื่อพระมหากษัตริย์ใดทรงมีอานุภาพก็รักษาเอกภาพแห่งพระราชอาณาจักรไว้ได้อย่างเรียบร้อย แต่ถ้าพระมหากษัตริย์องค์ใดหย่อนอานุภาพลง เจ้าเมืองมักจะคิดตั้งตนเป็นอิสระทำให้ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาณาจักรไม่มั่นคง เหตุดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเนื่องจากราชการส่วนกลาง และราชการปกครองส่วนภูมิภาคไม่มีความสัมพันธ์กันเพียงพอ
รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งได้ทรงปรับปรุงรูปแบบการปกครองขึ้นใหม่ โดยแยกการบริหารราชการออกเป็นฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร สำหรับฝ่ายพลเรือนรับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทางด้านเวียง วัง คลัง นา มีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนกิจการเกี่ยวกับทหารและการป้องกันประเทศ เช่น กรมช้าง กรมม้าและกรมทหารราบ มีสมุหกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จึงมีความสำคัญยิ่งต่ออนาคตของการจัดการปกครองประเทศการปกครองได้เป็นไปในทางเสริมสร้างสมบูรณาญาสิทธิราชเต็มที่ เพราะได้พวกพราหมณ์และพวกเจ้านาย ท้าวพระยามาจากกรุงกัมพูชา ซึ่งมีความชำนาญทางการปกครองอย่างถ้วนถี่ดีกว่าที่เคยรู้มาแต่ก่อนไว้
ดังนั้นแนวความคิดเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์และสถาบันแห่งพระองค์ ก็คงจะต้องเข้มงวดกวดขันยิ่งกว่าแต่กาลก่อน คือถือว่าเป็นสมมติเทวราชเต็มรูปแบบสำหรับการปรับปรุงแก้ไขการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค อันเป็นผลของการปฏิรูปดังกล่าวนั้นก็คือได้มีการขยายเขตราชธานี และหัวเมืองชั้นในออกไปให้กว้างกว่าเดิม เพื่อที่จะได้รวมอำนาจการปกครองเข้าไว้ในส่วนกลางให้ราชการบริหารส่วนกลาง สามารถควบคุมส่วนภูมิภาคได้ดียิ่งขึ้นและจัดหัวเมืองชั้นในอยู่ในวงของราชธานีเป็นหัวเมืองชั้นจัตวา ส่วนหัวเมืองชั้นในพระมหากษัตริย์ทรงอำนวยการปกครองโดยมีเสนาบดีเป็นผู้ช่วย ฉะนั้นผู้ปกครองหัวเมืองชั้นในหรือเมืองชั้นจัตวาจึงเรียกว่า "ผู้รั้ง"ไม่ใช่เจ้าเมืองและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งชั่วเวลา 3 ปี ส่วนกรมการอันเป็นพนักงานปกครองก็ขึ้นอยู่ในความบังคับบัญชาของเจ้ากระทรวงต่างๆ ในราชธานี
ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคปลีกย่อยออกไปอีก ซึ่งได้แก่การจัดระเบียบการปกครองภายในเมืองหนึ่งๆทั้งหัวเมืองชั้นนอกและชั้นใน หรือเรียกว่า ระเบียบการปกครองท้องที่ โดยแบ่งเมืองออกเป็นแขวง แขวงแบ่งออกเป็นตำบล ตำบล แบ่งออกเป็นบ้าน ซึ่งเป็นที่รวมของหลาย ๆ ครัวเรือนแต่มิได้กำหนดจำนวนคน หรือจำนวนบ้านไว้การแบ่งเขตการปกครองตามที่กล่าวมาข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่าไม่มีรูปร่างผิดแปลกไปกับการปกครองสมัยปัจจุบันมาก นักกฎหมายปกครองท้องที่ตราขึ้น ในสมัยหลังได้ร่างขึ้นโดยอาศัยรูปการปกครอง ซึ่งมีอยู่แต่เดิมเป็นหลักใหญ่และได้แก้ไขดัดแปลงบ้างเล็กน้อยเท่านั้น
การปกครองระบบเทวสิทธิ์นี้ ถ้าจะพิจารณาถึงผลสะท้อนที่เกิดกับการบริหารแล้ว จะเห็นได้ว่าประเทศไทยในสมัยนั้น เมื่อมีการสถาปนาประเทศเข้าสู่เสถียรภาพ ข้อเสียของระบบเทวสิทธิ์ก็ปรากฏขึ้นเช่นชนฝ่ายปกครองหรือกษัตริย์ถูกแยกห่างออกจากฝ่ายถูกปกครองคือประชาชนมากเกินไปจนกลายเป็นชนชั้นหนึ่งอีกต่างหาก ซึ่งแตกต่างจากการปกครองระบบบิดาและบุตรมาก ประกอบกับชนชั้นปกครองระดับรองลงมา อันได้แก่ มูลนายต่าง ๆ ช่องทางการใช้อำนาจหน้าที่เกินขอบเขต เกิดการกดขี่ทารุณและคดโกงขึ้น ตำแหน่งพระมหากษัตริย์กลายเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจและอภิสิทธิ์ยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งพึงปรารถนาในทางโลก ผู้ใดยึดครองตำแหน่งย่อมได้มาทั้งอำนาจและอภิสิทธิ์ต่างๆ ดุจเทพเจ้า
ฉะนั้นตลอดระยะเวลาอันยาวนานของการปกครองใต้ระบบเทวสิทธิ์ ได้มีการช่วงชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา จนบางครั้งทำให้เป็นมูลเหตุไปสู่ความอ่อนแอ และต้องสูญเสียเอกราชให้แก่ข้าศึกไปถึงสองครั้งสองครา ซึ่งประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยาจะยืนยันข้อความจริงดังกล่าวได้ดี เหตุการณ์เช่นนี้มิได้มีปรากฏในสมัยสุโขทัย ซึ่งถือการปกครองระบบบิดากับบุตร เพราะตำแหน่งกษัตริย์เป็นเพียงเสมือนตำแหน่งหัวหน้าครอบครัวเท่านั้น เมื่อคนที่ได้เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าสิ้นไป คนใหม่ที่มีอาวุโสรองลงไปจะเข้ารับหน้าที่แทน มิได้ถือว่าเป็นตำแหน่งพิเศษเปี่ยมด้วยอภิสิทธิ์ดังระบบเทวสิทธิ์



5.พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4-5-6-7 ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม



1.ด้านการปกครอง
แม้ว่ารัชกาลที่ 4 จะทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดตามแบบพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช แต่พระองค์ก็ได้ทรงเริ่มปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติบางอย่าง เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาราษฎร์ โดยเฉพาะในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างองค์พระมหากษัตริย์กับประชาชน รัชกาลที่ 4 ทรงพิจารณาว่าประเพณีบางอย่างที่เคยปฏิบัติกันมาแต่เดิม เช่น ห้ามราษฎรเข้าใกล้ชิดรวมทั้งมีการยิงกระสุนเวลาเสด็จพระราชดำเนินและบังคับให้ราษฎรปิดประตูหน้าต่างบ้านเรือน เป็นประเพณีที่ล้าสมัย ประเทศตะวันตกที่มีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็ไม่มีประเพณีตัดสิทธิราษฎรแบบนี้ จึงโปรดให้ยกเลิกประเพณีดังกล่าว อนุญาตให้ราษฎรเข้าเฝ้าโดยสะดวกและเปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนถวายฎีการ้องทุกข์ในขณะที่เสด็จพระราชดำเนินด้วย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะใน พ.ศ.2416 และทรงว่าราชการด้วยพระองค์เอง จึงทรงเริ่มปรับปรุงการปกครองซึ่งเรียกว่า “การปฏิรูปการปกครอง”
1. การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 แบ่งเป็น 2 ระยะคือ
1.1การปรบปรุงการปกครองประเทศในตอนต้นรัชกาล ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หรือเรียกว่า “เคาน์ซิล ออฟ สเตท” (Council of State) และสภาที่ปรึกษาในพระองค์ หรือเรียกว่า “ปรีวี เคาน์ซิล” (Privy Council)
1.2การปฏิรูปการปกครองในช่วงหลัง รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงภยันตรายจากการแสวงหาอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจตะวันตก
ต่อจากนั้นได้ยุบกระทรวงและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเสียใหม่เหลือไว้เพียง 10 กระทรวง คือ
1. กระทรวงมหาดไทย
2. กระทรวงกลาโหม
3. กระทรวงการต่างประเทศ
4. กระทรวงวัง
5. กระทรวงเมือง (นครบาล)
6. กระทรวงเกษตราธิการ
7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
8. กระทรวงยุติธรรม
9. กระทรวงธรรมการ
10.กระทรวงโยธาธิการ
11.(กระทรวงยุทธนาธิการ) ต่อมาไปอยู่กระทรวงกลาโหม เนื่องจากมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน
12.(กระทรวงมุรธาธิการ) ต่อมาไปอยู่กระทรวงวัง เนื่องจากมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน

2.การวางฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ไทยได้เริ่มมีการวางราฐานการปกคารองระบอบประชาธิปไตย มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 โดยใช้แบบแผนการปกครองตามอย่างสมัยรัชกาลที่ 5
3.การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาล สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นระยะเวลาที่ชาวยุโรปเริ่มแสวงหาอาณานิคมและแผ่อิทธิพลเข้ามาในเมืองไทย พระองค์จึงได้ทรงตรากฎหมายและประกาศต่างๆ ขึ้นใช้บังคับมากมาย เพื่อให้ทันสมัยเหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองในขณะนั้น เช่น พระราชบัญญัติมรดกสินเดิมและสินสมรส ใน พ.ศ. 2394 พระราชบัญญัติพระสงฆ์สามเณร และศิษย์วัด พ.ศ. 2402

2. ด้านเศรษฐกิจ

ในสมัยรัชกาลที่ 4 ไทยได้ทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีการค้ากับอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.2398 เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า “สนธิสัญญาเบาว์ริง” หลังจากทำสนธิสัญญาเบาว์ริงแล้วได้มีชาติอื่นๆ เข้ามาขอเจราจาทำสนธิสัญญาตามแบบอย่างอังกฤษอีกหลายชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส โปรตุเกส เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น เมื่อมีชาวต่างประเทศเดินทางมาค้าขายมากขึ้น สินค้าแปลกๆใหม่ๆ และวิทยาการต่างๆ ก็แพร่หลายสู่ประชาชนทั่วไป ทำให้มีการพัฒนาบ้านเมือง เพื่อให้ทันสมัยทัดเทียมกับต่างประเทศ เช่น มีการตัดถนนสายต่างๆ ได้แก่ ถนนเจริญกรุง หรือถนนใหม่ บำรุงเมือง เฟื่องนคร สีลม และมีการขุดคลองผดุงกรุงเกษม คลองดำเนินสะดวก ฯลฯ

4.สภาพสังคมและการศึกษา

การเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงดำริว่า การที่ประเทศไทยมีชนชั้นทาสมากเท่ากับเป็นการเสียเศรษฐกิจของชาติ และทำให้ต่างชาติดูถูกและเห็นว่าประเทศไทยป่าเถื่อนด้อยความเจริญ ซึ่งมีผลทำให้ประเทศมหาอำนาจต่างๆ คิดจะเข้าครอบครองไทย โดยอ้างว่า เพื่อช่วยพัฒนาประเทศไทยให้ทัดเทียมประเทศอื่นๆ ที่เจริญแล้วทั้งหลาย
การปฏิรูปการศึกษาสมัยรัชกาลที่ 5 สาเหตุที่ทำให้เกิดการปฏิรูปการศึกษา คือ พระองค์ต้องการสร้างคนที่มีความรู้เพื่อเข้ารับราชการช่วยบริหารประเทศให้พัฒนามากขึ้น โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกคือ โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2414 ทรงพระราชทานเสื้อผ้า อาหารกลางวันทุกวัน ครูก็ได้ค่าจ้าง ต่อมาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระตำหนักเดิมที่สวนกุหลาบ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของพระบรมมหาราชวัง ให้ชื่อว่า โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ โดยมีพระยาสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หรือหลวงสารประเสริฐเป็นอาจารย์ใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษในวัง มีฟรานซิส ยี แปตเตอร์สัน เป็นครู
อีกสาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากการปลดปล่อยทาสให้เป็นไท พระองค์ทรงห่วงใยมาก เพื่อที่จะไม่ให้กลับมาเป็นทาสอีก จึงเป็นต้องให้คนเหล่านั้นได้รับการศึกษา เพื่อให้มีวิชาความรู้นำไปประกอบอาชีพได้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรขึ้น ชื่อ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ใน พ.ศ.2427
5.การศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี

การศาสนา รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดต่างๆ ได้แก่ วัดมกุฏกษัตริยาราม วัดโสมนัสวิหาร วัดปทุมวนาราม และวัดราชประดิษฐ์
รัชกาลที่ 5 ทรงตั้งสถานศึกษาสำหรับสงฆ์ คือ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย หรือมหาธาตุวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาฝ่ายมหานิกาย และมหามกุฏราชวิทยาลัย ตั้งขึ้นใน พ.ศ.2436 เป็นสถานศึกษาฝ่ายธรรมยุติกนิกาย สำหรับวัดที่ทรงสร้างในสมัยนี้ ได้แก่ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นต้น

รัชกาลที่ 5 ทรงแก้ไขประเพณีการสืบราชสันตติวงศ์ ยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลใน พ.ศ.2429 โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งตำแหน่ง “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร” ตาแบบประเทศตะวันตก ที่เรียกองค์รัชทายาทว่า “Crown Prince”
รัชกาลที่ 5 ทรงยกเลิกประเพณีวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน ที่สำคัญคือ เลิกประเพณีหมอบคลานเข้าเฝ้าและให้ยืนเข้าเฝ้าแทน ยกเลิกการโกนผมเมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต คงให้มีการไว้ทุกข์เพียงอย่างเดียว เปลี่ยนวิธีการไต่สวนของตุลาการแบบเก่า ยกเลิกจารีตนครบาล เพราะเป็นวิธีลงโทษที่ชาวตะวันตกรังเกียจทารุณไร้อารยธรรม พระราชกรณียกิจอันยิ่งใหญ่ของรัชกาลที่ 5 ในการเปลี่ยนแปลงประเพณีและวัฒนธรรมของไทยให้เป็นไปตามคตินิยมตะวันตก คือ การเลิกทาสและเลิกระบบไพร่ อันเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงแก่ประชาราษฎรโดยตรง

6.วรรณกรรรมและศิลปะกรรรม

1.วรรณกรรม
1.1 สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นทั้งกวี มีความสามารถในด้านศาสนา โบราณคดี โหราศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
1.2 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยนี้มีการปรับปรุงบ้านเมืองหลายอย่างที่ช่วยสนับสนุนให้งานวรรณกรรมก้าวหน้า
1.3 สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นระยะที่วรรณกรรมได้รับอิทธิพลของตะวันตกมากที่สุด

7.การต่างประเทศ
1. นโยบายต่างประเทศ เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา
1.1 นโยบายต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ 4
1.2 นโยบายต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ 5

8.อิทธิพลของอายธรรมตะวันตกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของไทยในด้านต่างๆ
1.จากการที่ไทยยอมเปิดประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยยอมทำสนธิสัญญาทางการทูตและการค้ากับประเทศตะวันตก ทำให้เกิดผลต่อประเทศ
2. สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงริเริ่มแต่งตั้งเอกอัครราชทูตไปประจำยังต่างประเทศเป็นครั้งแรก เอกอัครราชทูตไทยคนแรก

9.การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 6

1.ประเทศที่เข้าร่วมสงคราม แบ่งออกเป็นสองฝ่าย
1.1 ฝ่ายพันธมิตรสามเส้า หรือมหาอำนาจกลาง ได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และตุรกี
1.2 ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อิตาลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
10.การเสียดินแดนในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5

1.การเสียดินแดนในเขมรหรือเขมรส่วนนอก พ.ศ.2410 (ร.ศ.86) ฝรั่งเศสคิดว่าแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านดินแดนของประเทศเขมร
2.การเสียแคว้นสิบสองเจ้าไทย พ.ศ.2431 (ร.ศ. 107) ฝรั่งเศสขอทำสนธิสัญญากับไทย เพื่อตั้งสถานกงสุลที่หลวงพระบาง พ.ศ.2431 โดยให้ นายออกุสต์ ปาวี (Monsieur August Pavie) เป็นกงสุลประจำ
3.การเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง พ.ศ.2436 (ร.ศ.112) ฝรั่งเศสต้องการให้ลาวหรือฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงตกเป็นเมืองขึ้นของตน
4.การเสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง พ.ศ.2446 (ร.ศ. 122) จากวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ทำให้ฝรั่งเศสยึดดินแดนจันทบุรี
5.การเสียดินแดนมณฑลบูรพา พ.ศ.2449 (ร.ศ. 125) ไทยยอมทำสัญญายกมณฑลบูรพา ซึ่งประกอบด้วยเมือง พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ (เขมรส่วนใน) ให้แก่ฝรั่งเศส
6.อนุสัญญาลับไทยกทำกับอังกฤษ พ.ศ.2440 วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2440 รัฐบาลได้ลงนามในอนุสัญญาลับร่วมกับอังกฤษ
7.การเสียรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิสให้อังกฤษ ร.ศ. 128 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พ.ศ.2452 นายเอ็ดเวิร์ด สโตรเบล ซึ่งเป็นที่ปรึกษาราชาแผ่นดินชาวอเมริกา

สนธิสัญญานี้มีผลกระทั่งไทยประกาศใช้ประมวลกฎหมายให้ครบถ้วนเป็นเวลา 5 ปี ในสัญญานี้ให้ยกเลิกอนุสัญญาลับ พ.ศ.2440 ด้วย และการสร้างรถไฟสายใต้ รัฐบาลอังกฤษจะให้รัฐบาลไทยกู้เงิน 5 ล้านปอนด์ โดยคิดดอกเบี้ยต่ำ แต่ต้องให้ชาวอังกฤษเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้เอง เพราะอังกฤษต้องการให้บรรจบกับทางรถไฟในมลายูของอังกฤษ

มูลเหตุการปรับปรุงการปกครอง
นายวรเดช จันทรศร ได้สรุปถึงปัญหาที่สยามประเทศเผชิญอยู่ในขณะนั้นที่เป็นเงื่อนไขความจำเป็นที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปอย่างขนานใหญ่รวม 7 ประการ ได้แก่
1. ปัญหาความล้าหลังของระบบการบริหารราชการแผ่นดินที่มีรูปแบบของการจัดที่ทำให้เอกภาพของชาติตั้งอยู่บนรากฐานที่ไม่มั่นคงระบบบริหารล้าสมัยขาดประสิทธิภาพมีการทำงานที่ซ้ำซ้อนและสับสนการควบคุมและการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางไม่สามารถทำได้ทำให้ความมั่นคงของประเทศอยู่ในอันตรายและยังเปิดโอกาสให้ค่านิยมของตะวันตกสามารถเข้าแทรกแซงได้โดยง่าย
2. ระบบบริหารการจัดเก็บภาษีอากรและการคลังของสยามประเทศ มิได้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาปรับปรุงบ้านเมืองและเสริมสร้างพระราชอำนาจให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์เนื่องจากขาดหน่วยงานกลางที่จะควบคุมดูแลการจัดเก็บรักษาและใช้เงินรายได้แผ่นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ พระมหากษัตริย์ ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของเจ้าพนักงานขุนนางผู้ดูแลการจัดเก็บภาษีรัฐ และเจ้าภาษีนายอากร ให้อยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ได้
3. การควบคุมกำลังคนในระบบไพร่ก่อให้เกิดปัญหาการใช้ไพร่เป็นฐานอำนาจทางการเมือง เพื่อล้มล้างพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เกิดความไม่มั่นคงต่อพระราชบัลลังก์ เกิดการขาดเอกภาพในชาติทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดความล้าหลังไพร่ไม่สามารถสะสมทางเศรษฐกิจทั้งนี้ เพราะผลเนื่องมาจากการเกณฑ์แรงงาน นอกจากนี้การฉ้อราษฎร์บังหลวงของมูลนาย ยังเป็นการทำลายผลประโยชน์ของพระมหากษัตริย์ และเกิดความเสียหายต่อสยามโดยรวม
4. ปัญหาการมีทาสก่อให้เกิดการกดขี่และความไม่เป็นธรรมในสังคมเป็นเครื่องชี้ความป่าเถื่อนล้าหลังของบ้านเมืองที่มีอยู่ซึ่งเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศต่างชาติอาจใช้เป็นข้ออ้างในการเข้ามาแทรกแซงของลัทธิล่าอาณานิคมที่จะสร้างความศิวิไลซ์และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในชาติด้อยพัฒนาในแง่เศรษฐกิจระบบทาสของสยามเป็นระบบใช้แรงงานที่เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเป็นอุปสรรคต่อการเป็นการพัฒนาคุณภาพกำลังคนในชาติ
5. ระบบทหารของสยามประเทศเป็นระบบที่ไม่สามารถป้องกันผลประโยชน์ และเกียรติของชาติไว้ได้เป็นระบบที่ยึดถือแรงงานของไพร่เป็นหลักในการป้องกันพระราชอาณาจักรทำให้การควบคุมประชาชนในประเทศถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ทำให้สถานภาพของพระมหากษัตริย์และเอกภาพของชาติตั้งอยู่บนฐานที่ไม่มั่นคง ทำให้กองทัพขาดเอกภาพขาดระเบียบวินัยอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมรบไม่อำนวยให้เกิดการฝึกหัดที่ดีและการเรียกระดมเข้าประจำกองทัพล่าช้าทำให้ไม่ทราบจำนวนไพร่พลที่แน่นอน
6. ปัญหาข้อบกพร่องของระบบกฎหมาย และการศาลที่ล้าสมัยแตกต่างจากอารยะประเทศไม่เป็นหลักประกันความยุติธรรมให้กับคนในชาติ และชาวต่างชาติบทลงโทษรุนแรงทารุณการพิจารณา ล่าช้าคดีคั่งค้างไม่สามารถรองรับความเจริญทางการค้าพาณิชย์และสภาพสังคม ได้มีหน่วยงานในการพิจารณาคดีมากเกินไป เกิดความล่าช้าสังกัดของศาลแยกไปอยู่หลายกรมเกิดความล่าช้าและไม่ยุติธรรมระบบการรับสินบนฝังรากลึกมาแต่ในอดีตปัญหาข้อบกพร่องต่างๆ ทั้งหมดนี้เป็นเหตุให้สยามถูกกดดันทำให้เกิดความยากลำบากในการปกครองและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
7. ปัญหาด้านการศึกษาสยามประเทศก่อนปฏิรูปยังไม่มีระบบการศึกษาสมัยใหม่ไม่มีหน่วยงานที่จะรับผิดชอบในการจัดการศึกษาโดยตรงการศึกษาจำกัดอยู่เฉพาะราชวงศ์ขุนนางชั้นสูงเกิดความไม่ยุติธรรม ทำให้โอกาสการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ลางเลือน ประเทศขาดคนที่มีคุณภาพเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศขาดพลังที่จะช่วยรักษาบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัยอีกทั้งยังทำให้ต่างชาติดูถูกสยามประเทศว่ามีความป่าเถื่อน ล้าหลัง

การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนกลาง
การปรับปรุงการบริหารราชการในส่วนกลางได้จัดแบ่งหน่วยงานออกเป็นกระทรวงต่าง ๆ ตามลักษณะเฉพาะ เพื่อให้การบริหารงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยปรับปรุงการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางซึ่งมีมาแต่เดิมนับตั้งแต่การปฏิรูปการปกครองในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ มหาดไทย กลาโหม เมือง วัง คลัง นาอันได้ใช้เป็นระเบียบปกครองประเทศไทยตลอดมาจนถึงรัชกาลที่ 5 เหตุแห่งการปฏิรูปการปกครอง และระเบียบราชการส่วนกลางในรัชการนี้ ก็เนื่องจากองค์การแห่งการบริการส่วนกลาง ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติราชการให้ได้ผลดีและความเจริญของประเทศและจำนวนพลเมืองเพิ่มขึ้นข้าราชการเพิ่มขึ้น แต่องค์การแห่งราชการบริหารส่วนกลางยังคงมีอยู่เช่นเดิมไม่เพียงพอต่อความต้องการด้วยเหตุดังกล่าว จึงได้ทรงตั้งกระทรวงเพิ่มขึ้นโดยได้ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศตั้งกระทรวงแบบใหม่ และผู้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ ขึ้นโดยได้จัดสรรให้อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละกระทรวงให้เป็นสัดส่วน ดังนี้ คือ
1. กระทรวงมหาดไทย บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาวประเทศราช (ในช่วงแรก) แต่ต่อมาได้มีการโอนการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งหมดที่มีให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย
2. กระทรวงกลาโหม บังคับบัญชาหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายตะวันตกตะวันออก และเมืองมลายูประเทศราช เมื่อมีการโอนการบังคับบัญชาหัวเมืองไปให้กระทรวงมหาดไทยแล้วกระทรวงกลาโหมจึงบังคับบัญชาฝ่ายทหารเพียงอย่างเดียวทั่วพระราชอาณาเขต
3. กระทรวงการต่างประเทศ (กรมท่า) มีหน้าที่ด้านการต่างประเทศ
4. กระทรวงวัง ว่าการในพระราชวัง
5. กระทรวงเมือง (นครบาล) การโปลิศและการบัญชีคน คือ กรมพระสุรัสวดีและรักษาคนโทษ
6. กระทรวงเกษตราธิการ ว่าการเพาะปลูกและการค้า ป่าไม้ เหมืองแร่
7. กระทรวงพระคลัง ดูแลเรื่องเงิน รายได้ รายจ่ายของแผ่นดิน
8. กระทรวงยุติธรรม จัดการเรื่องศาลซึ่งเคยกระจายอยู่ตามกรมต่าง ๆ นำมาไว้ที่แห่งเดียวกันทั้งแพ่ง อาญา นครบาล อุทธรณ์ทั้งแผ่นดิน
9. กระทรวงยุทธนาธิการ ตรวจตราจัดการในกรมทหารบก ทหารเรือ
10. กระทรวงธรรมการ จัดการเกี่ยวกับการศึกษา การรักษาพยาบาล และอุปถัมภ์คณะสงฆ์
11. กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ก่อสร้างทำถนน ขุดคลอง การช่าง การไปรษณีย์โทรเลขการรถไฟ
12. กระทรวงมุรธาธิการ มีหน้าที่รักษาพระราชลัญจกร รักษาพระราชกำหนดกฎหมายและหนังสือราชการทั้งปวง
เมื่อได้ประกาศปรับปรุงกระทรวงใหม่เสร็จเรียบร้อยจึงได้ประกาศตั้งเสนาบดีและให้เลิกอัครเสนาบดีทั้ง 2 ตำแหน่ง คือ สมุหนายกและสมุหกลาโหม กับตำแหน่งจตุสดมภ์ให้เสนาบดีทุกตำแหน่งเสมอกันและรวมกันเป็นที่ประชุมเสนาบดีสภา หรือเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลา ต่อจากนั้นได้ยุบรวมกระทรวง และปรับปรุงใหม่เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงต่างๆ ยังคงมีเหลืออยู่ 10 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงนครบาล กระทรวงการ-ต่างประเทศ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงวัง กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวงธรรมการ

การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ด้วยเหตุที่มีการรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองซึ่งเคยแยกกันอยู่ใน 3 กรม คือ มหาดไทยกลาโหมและกรมท่า ให้มารวมกันอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว การปฏิรูปหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาคจึงมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทน (field) หรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทย หรือรัฐบาลกลางโดยส่วนรวมทั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองแบบเมืองหลวง เมืองชั้นใน เมืองชั้นนอก เมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราชเดิม เพื่อให้ลักษณะการปกครองเปลี่ยนแปลงแบบราชอาณาจักรโดยการจัดระเบียบการปกครองให้มีลักษณะลดหลั่นตามระดับสายการบังคับบัญชาหน่วยเหนือลงไปจนถึงหน่วยงานชั้นรอง ตามลำดับดังนี้
1.การจัดรูปการปกครองมณฑลเทศาภิบาล โดยการรวมหัวเมืองต่าง ๆ เป็นมณฑลตามสภาพภูมิประเทศและความสะดวกแก่การปกครอง มีสมุหเทศาภิบาลซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเลือกสรรจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความสามรถสูงและเป็นที่วางพระราชหฤทัยแต่งตั้งให้ไปบริหารราชการต่างพระเนตรพระกรรณ
2.การจัดรูปการปกครองเมือง มีการปกครองใช้ข้อบังคับลักษณะการปกครองท้องที่ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดหน่วยบริหารที่ชื่อว่า "เมือง" ใหม่โดยให้รวมท้องที่หลายอำเภอเป็นหัวเมืองหนึ่งและกำหนดให้มีพนักงานปกครองเมืองแต่ละเมือง ประกอบด้วยผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาเมือง และมีคณะกรรมการเมือง 2 คณะ คือ กรมการในทำเนียบและกรมการนอกทำเนียบเป็นผู้ช่วยเหลือและให้คำแนะนำพระมหากษัตริย์ทรงเลือกสรร และโยกย้ายผู้ว่าราชการเมือง
3. การจัดการปกครองอำเภอ อำเภอเป็นหน่วยบริหารราชการระดับถัดจากเมืองเป็นหน่วยปฏิบัติราชการหน่วยสุดท้ายของรัฐที่จะเป็นผู้บริการราชการในท้องที่ และให้บริการแก่ประชาชนตามนโยบายของรัฐบาลกลาง เป็นหน่วยการปกครองที่จัดตั้งขึ้นโดยการรวมท้องที่หลายตำบลเข้าด้วยกัน มีกรมการอำเภอซึ่งประกอบด้วยนายอำเภอปลัดอำเภอ และสมุห์บัญชีอำเภอร่วมกันรับผิดชอบในราชการของอำเภอ โดยนายอำเภอเป็นหัวหน้า ทั้งนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายนายอำเภอ เป็นอำนาจของข้าหลวงเทศาภิบาลสำหรับตำแหน่งลำดับรองๆ ลงไปซึ่งได้แก่ ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชีอำเภอ และเสมียน พนักงาน ผู้ว่าราชการเมืองมีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายหากท้องที่อำเภอใดกว้างขวางยากแก่การที่กรมการอำเภอจะไปตรวจตราให้ทั่วถึงได้และท้องที่นั้นยังมีผู้คนไม่มากพอที่จะยกฐานะเป็นอำเภอหรือกรณีที่ท้องที่ของอำเภอมีชุมชนที่อยู่ห่างไกลที่ว่าการอำเภอก็ให้แบ่งท้องที่ออกเป็น กิ่งอำเภอเพื่อให้มีพนักงานปกครองดูแลได้แต่กิ่งอำเภอยังคงเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอและอยู่ในกำกับดูแลของกรรมการอำเภอ
4. การจัดรูปการปกครองตำบลหมู่บ้าน อำเภอแต่ละอำเภอมีการแบ่งซอยพื้นที่ออกเป็นหลายตำบลและตำบลก็ยังซอยพื้นที่ออกเป็นหมู่บ้าน ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองสุดท้ายที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดการปกครองระดับนี้มุ่งหมายที่จะให้ราษฎรในพื้นที่ เลือกสรรบุคคลขึ้นทำหน้าที่เป็นธุระในการรักษาความสงบเรียบร้อยโดยเป็นทั้งตัวแทนประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติงาน เป็นสื่อเชื่อมโยงระหว่างรัฐบาลกับประชาชน คือเป็นผู้ประสานงานช่วยเหลืออำเภอ และเป็นตัวแทนของรัฐสอดส่องดูแลทุกข์สุขของราษฎร์ ตลอดจนช่วยเก็บภาษีอากรบางอย่างให้รัฐ

การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงริเริ่มแนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองของประชาชนในท้องถิ่นจากต่างประเทศมา
ดำเนินการโดยริเริ่มทดลองให้มีการจัดการสุขาภิบาลกรุงเทพฯและการสุขาภิบาลหัวเมือง รายละเอียดดังนี้
1. การจัดการสุขาภิบาลกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มให้จัดการบำรุงท้องถิ่นแบบสุขาภิบาล ขึ้นในกรุงเทพ อันเป็นอิทธิพลสืบเนื่องมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีโอกาสไปดู กิจการต่าง ๆในยุโรป และเนื่องจากเจ้าพระยาอภัยราชา(โรลังยัคมินส์) ติเตียนว่ากรุงเทพฯสกปรกที่รักษาราชการทั่วไปของประเทศในขณะนั้นได้กราบทูลกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าชาวต่างประเทศ มักติเตียนว่ากรุงเทพฯ สกปรกไม่มีถนนหนทางสมควรแก่ฐานะเป็นเมืองหลวงพระองค์ จึงโปรดเกล้าให้จัดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ขึ้นโดยมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 ออกใช้บังคับการจัดการดำเนินงานเป็นหน้าที่ของกรมสุขาภิบาล การบริหารกิจการในท้องที่ของสุขาภิบาลพระราชกำหนดได้กำหนดให้มีการประชุมปรึกษากันเป็นคราว ๆ ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้รับหน้าที่ในด้านการอนามัยและการศึกษาขั้นต้นของราษฎร ได้ แบ่งสุขาภิบาลออกเป็น 2 ชนิด คือ สุขาภิบาลเมือง และสุขาภิบาลตำบล โดยสุขาภิบาลแต่ละชนิดมีหน้าที่
1.รักษาความสะอาดในท้องที่
2.การป้องกันและรักษาความเจ็บไข้ในท้องที่
3. การบำรุงและรักษาทางไปมาในท้องที่
4. การศึกษาขึ้นต้นของราษฎร
พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับได้ใช้อยู่จนกระทั่งหมดสมัยที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงดำรงตำแหน่งของเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ไม่มีนโยบายส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองของประเทศและสุขาภิบาลเริ่มประสบปัญหาต่างๆ จึงทำให้การทำงานของสุขาภิบาลหยุดชะงักและเฉื่อยลงตามลำดับ จวบจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ.2475 คณะราษฎรมุ่งหวังที่จะสถาปนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นในประเทศไทย จึงตราพระราชบัญญัติการจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 เพื่อส่งเสริมให้มีการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลอย่างกว้างขวาง



การเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบัน

การเมืองการปกครองของไทยในปัจจุบัน
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี) พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ออกแถลงการณ์ทางโทรทัศน์
ทหารบก มีส่วนสำคัญในการก่อรัฐประหารครั้งนี้ มีริบบิ้นสีเหลืองผูกกระบอกปืน และมีผ้าพันคอสีเหลือง
รถถังจอดอยู่ที่กระทรวงกลาโหมในวันที่ 24 ก.ย. 2549
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เป็นรัฐประหารครั้งที่ 10 ในประเทศไทย เกิดขึ้นในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งมี พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ โดยได้มีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี แล้วประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร
รัฐประหารครั้งนี้ เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในเดือนตุลาคม หลังจากที่การเลือกตั้งเดือนเมษายนถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ และนับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2548
รัฐประหารดังกล่าวไม่มีการเสียเลือดเนื้อ และไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาจากนานาชาตินั้นมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์โดยต่างประเทศเช่นออสเตรเลีย การแสดงออกถึงความเป็นกลาง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนถึงการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกาซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโต และกล่าวว่าการก่อรัฐประหารนั้น "ไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้"
ภายหลังรัฐประหาร คปค. ได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกใน 41 จังหวัด รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ยังคงไว้ 35 จังหวัด และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2549 ซึ่งนับเป็นฉบับที่ 17
ชนวนที่นำมาสู่รัฐประหาร (คืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมือง โดยมีสถานการณ์รอบด้านหลายประการรุมเร้า พลเอก สนธิ บุญรัตกลิน เปิดเผยว่าได้ใช้เวลาประมาณ 7 เดือนในการเตรียมการก่อรัฐประหาร ซึ่งหมายความว่าเริ่มวางแผนในราวเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งเป็นห้วงเวลาเดียวกับที่มีการเปิดตัวพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อมธ.เปิดล่ารายชื่อ 50,000 ชื่อเพื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรี การเข้าพบ พล.อ.สนธิ ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล เพื่อเรียกร้องให้ทหารออกมายืนข้างประชาชน การเสนอให้ใช้มาตรา 7 นายกฯ พระราชทาน และการประกาศยุบสภาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
พฤศจิกายน 2549 สองเดือนหลังจากรัฐประหาร คมช. ได้ออก "สมุดปกขาว" ชี้แจงสาเหตุของการก่อรัฐประหารยึดอำนาจโดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ การทุจริตผลประโยชน์ทับซ้อน การใช้อำนาจในทางมิชอบ การละเมิดจริยธรรมคุณธรรมของผู้นำประเทศ การแทรกแซงระบบการตรวจสอบทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ ข้อผิดพลาดเชิงนโยบายที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิเสรีภาพ และการบ่อนทำลายความสามัคคีของคนในชาติ
อย่างไรก็ตาม บทวิเคราะห์จากหลายฝ่ายชี้ให้เห็นว่ายังมีสาเหตุอีกบางประการนอกเหนือจากเหตุผลของ คมช. ที่นำมาสู่รัฐประหาร เช่น ความขัดแย้งทางอำนาจที่เห็นได้จากการโยกย้ายนายทหารประจำปี รวมไปถึงความขัดแย้งระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ กับสถาบันกษัตริย์
ต่อมาได้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 โดยคณะกรรมมาธิการยกร่างและสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อจัดทำเสร็จได้ทำการพิมพ์เผยแพร่แจกให้กับประชาชนเพื่อประกอบการลงประชามติในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ผลจากการลงประชามติปรากฏว่ามีผู้รับร่างรัฐธรรมนูญ 14,294,520 ล้านเสียง ไม่รับร่าง 10,419,912 ล้านเสียง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงนามสนองพระบรมราชโองการและโปรดเกล้าให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เมื่อ 24 สิงหาคม 2550 นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 ของไทย หลังจากนั้นรัฐบาลได้ร่วมหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นควรให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550
เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความเรียบร้อยให้เร็วที่สุด บรรดาพรรคการเมืองต่าง ๆ เริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อเตรียมไปสู่การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย มีการรวมพรรค มีการเฟ้นหาหัวหน้าพรรค มีการคัดหาผู้สมัคร ซึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้กำหนดให้มี สส จำนวน 480 คน แยกเป็น 400 คนมาจากการเลือกตั้ง โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แบ่งเป็น 157 เขต มี สส 400 คน อีก 80 คน มาจากระบบสัดส่วน คือการแบ่งประเทศไทยออกเป็น 8 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมี สส ได้ 10 คน การได้มาของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภาจะมี 150 คน ได้มา 2 ทาง คือ ได้มาจากการเลือกของประชาชน 76 คน (จังหวัดละ 1 คน) และได้มาจากการสรรหาอีก 74 คน


การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ

ประชาธิปไตย คือระบอบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่ ถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่มติปวงชน หรือเสียงข้างมาก เกิดจากการแสดงออกของผู้แทนปวงชน ผู้แทนปวงชน หรือผู้แทนราษฎร

ระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่หมายถึงแค่ประชาธิปไตยทางการเมือง (ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ เลือกตั้ง คัดค้าน ถอดถอน ผู้แทนได้) เท่านั้น หากต้องเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ (มีการกระจายทรัพย์สิน รายได้และงานที่เหมาะสม อย่างเป็นธรรม มีการแข่งขันด้านการผลิตและการค้าที่เป็นธรรม) และประชาธิปไตยทางสังคม (ประชาชนมีการศึกษา รับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีสิทธิเสรีภาพ และโอกาสการเข้าถึง ศาสนา ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม อย่างเสมอภาคกัน) ด้วย ประชาธิปไตย 2 อย่างหลังนี้ ประเทศไทยยังมีน้อย รวมทั้ง ไม่มีการให้การศึกษาให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารประชาชนในเรื่องประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคมมากพอ เป็นเหตุให้ประชาธิปไตยทางการเมืองของไทยยังพัฒนาไปได้ช้ามาก
จะตรวจสอบประชาธิปไตยของแท้ได้อย่างไร
ระบบการเลือกตั้งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย หากประชาชนต้องการจะตรวจสอบว่าสภาพการเมืองในตอนไหน เป็นประชาธิปไตยที่แท้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่าสภาพการเมืองในขณะนั้น ประกอบไปด้วยสภาวะความเป็นประชาธิปไตย อย่างน้อย 6 ข้อ ดังต่อไปนี้หรือไม่ มากน้อยเพียงไร
1. การเลือกตั้งผู้แทนจะต้องเป็นอิสระและยุติธรรม ไม่มีการใช้อำนาจหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่รัฐเพื่อโกงการเลือกตั้ง ไม่มีการซื้อเสียงขายเสียง และการที่กลุ่มอภิสิทธิชนใช้อำนาจอิทธิพลระบอบอุปถัมภ์ ให้คนต้องเลือกเฉพาะพวกเขาบางคน
2. จะต้องมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจที่ดี เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ องค์กรประชาชนสามารถตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารได้ และต่างฝ่ายต่างตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน รวมทั้งภาคประชาชนสามารถถอดถอนผู้แทนที่มีพฤติกรรมไม่ชอบธรรมได้
3. การบริหารบ้านเมืองจะต้องโปร่งใส มีเหตุผลอธิบายได้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่มีการคอรัปชั่น การหาผลประโยชน์ทับซ้อน การเล่นพรรคพวก หาประโยชน์ส่วนตัว
4. มีรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ขนบธรรมเนียม ที่มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่ อย่างมี เหตุผล มีความคงเส้นคงวา คนส่วนใหญ่ยอมรับ และรัฐธรรมนูญ กฎหมาย เหล่านั้นมีผลบังคับใช้ด้วย
5. สื่อมวลชนและองค์กรประชาชนมิสิทธิเสรีภาพ, เป็นอิสระ, มีศักดิ์ศรี และเข้มแข็ง
ประชาชนมีจิตสำนึกความเป็นพลเมือง และมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การแสดงความคิดเห็น การสมาคม การชุมนุม การทำประชาพิจารณ์ (เปิดอภิปรายความคิดเห็นประชาชนเรื่องกฎหมายและโครงการต่างๆ) และการลงประชามติว่า ประชาชนจะรับหรือไม่ในเรื่องสำคัญๆ
6. มีการกระจายการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สู่ประชาชน ทำให้เกิดประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่มั่นคง สม่ำเสมอ
ดังนั้นถ้าเรานำหลักการตรวจสอบประชาธิปไตย 6 ข้อนี้มาตรวจสอบสภาพการเมืองในช่วงปี 2544 – 2549 ซึ่งมีการเลือกตั้งและผู้สมัคร สส. จากพรรคไทยรักไทย ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาด้วยเสียงข้างมาก เราจะพบว่าพวกเขาเป็นรัฐบาลที่ใช้อำนาจผูกขาด แทรกแซงองค์กรอิสระ ปิดปากสื่อมวลชนและประชาชน คอรัปชั่น หาผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องฯลฯ ทำให้ ระบอบการปกครองแบบทักษิณเป็นระบอบประชาธิปไตยเพียงเปลือกนอก ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง


6.การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 กลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ต่อมาเรียกตนเองว่า "คณะราษฎร" ได้ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
คณะราษฎรเกิดจากการรวมกลุ่มของข้าราชการและนักเรียนไทย 7 คนในฝรั่งเศสและยุโรปที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม ภายใต้การนำของนายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เมื่อนักเรียนเหล่านี้กลับมาเมืองไทยก็ได้ขยายกลุ่มสมาชิกภายในประเทศและขอให้พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นแกนนำฝ่ายพลเรือน หลวงพิบูลสงครามเป็นแกนนำฝ่ายทหารบก

1. สาเหตุของการปฏิวัติ เกิดจากปัจจัยทางการเมืองและปัจจัยทางเศรษฐกิจ ในด้านปัจจัยทางการเมือง การปฏิรูปบ้านเมืองและปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้เกิดชนชั้นกลางที่เรียนรู้รูปแบบการเมืองการปกครองของชาติตะวันตก ทำให้เห็นว่าการปกครองโดยคน ๆ เดียวหรือสถาบันเดียวไม่อาจแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ทั้งหมด นอกจากนี้ชนชั้นกลางจำนวนมากไม่พอใจที่บรรดาเชื้อพระวงศ์ผูกขาดอำนาจการปกครองและการบริหารราชการ กลุ่มคนรุ่นใหม่ต้องการให้มีการปกครองระบอบรัฐสภาและมีรัฐธรรมนูญ บางกลุ่มต้องการให้มีการปกครองระบอบสาธารณรัฐ
ในด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและการดุลข้าราชการออกจำนวนมากเพื่อตัดลดงบประมาณ ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการและประชาชนที่เดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งที่คณะราษฎรใช้โจมตีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

2. เหตุการณ์วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ในวันที่ 24 มิถุนายน คณะผู้ก่อการเข้ายึดอำนาจการปกครองที่กรุงเทพมหานคร และจับกุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้า ฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพอภิรัฐมนตรี เป็นตัวประกัน
ส่วนบริเวณลานหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคุณะผู้ก่อการได้อ่านประกาศยึดอำนาจการปกครอง ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี ประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยอมารับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฏร เพราะทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของราษฎรและไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ รวมทั้งพระองค์ก็ทรงมีพระราชดำริที่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตยอยู่แล้ว
ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้เข้าเฝ้า ฯ และนำร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช 2475 ขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย เพื่อให้ลงพระปรมาภิไธย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเติมคำว่า "ชั่วคราว" ต่อท้ายรัฐธรรมนูญ นับเป็นการเริ่มต้นระบอบรัฐธรรมนูญของไทย ต่อมาในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้มีพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต

7.บทบาทพระมหากษัตริย์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต่อการพัฒนาชาติไทย
-ด้านการเมือง
-ด้านเศรษฐกิจ
-ด้านสังคมและวัฒนธรรม
-ด้านการต่างประเทศ

ความหมายของพระมหากษัตริย์
ความหมายของ “พระมหากษัตริย์” ตามรูปศัพท์ หมายถึง “นักรบผู้ยิ่งใหญ่” คำว่า “มหา” แปลว่า ยิ่งใหญ่และคำว่า “กษัตริย์” แปลว่า นักรบ ถ้าจะถือตามความหมายที่ใช้กันอยู่ทั่วไปและความเข้าใจตามธรรมดาแล้วพระมหากษัตริย์ก็คือพระเจ้าแผ่นดิน ในภาษาสันสกฤตคำว่า กษัตริย หมายถึง ผู้ป้องกันหรือนักรบ คติที่เรียกพระเจ้าแผ่นดินว่าเป็นพระมหากษัตริย์นั้นเรารับมาจากคำในภาษาสันสกฤตซึ่งมีความหมายสองนัยคือ คตินิยมแรกจากธรรมเนียมการใช้วรรณะของอินเดียซึ่งถือว่า“กษัตริย์” รวมถึงพวกนักรบด้วย และคติที่สองหมายถึงผู้ปกครองแผ่นดินซึ่งสืบเนื่องมาจากคตินิยมเรื่อง “มหาสมมติ” ซึ่งถือว่ามหาชนเป็นผู้เลือกกษัตริย์
มีคำเรียกพระมหากษัตริย์หลายคำเช่น ราชราชา พระราชา หรือราชัน หมายถึง ผู้ชุบน้อมจิตใจของผู้อื่นไว้ด้วยธรรม จักรพรรดิ หมายถึง ผู้ปกครองที่ปวงชนพึงใจและเป็นผู้มีคุณธรรมสูง และใกล้เคียงกับคำว่า ธรรมราชา หมายถึง ผู้รักษาและปฏิบัติธรรมทั้งเป็นต้นเหตุแห่งความยุติธรรมทั้งปวง คำว่าพระเจ้าอยู่หัว หมายถึง พระผู้เป็นผู้นำหรือประมุขของประเทศ และคำว่า “พระเจ้าแผ่นดิน” หมายถึงพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของแผ่นดิน(เขตคาม อธิปติ)ซึงเขียนไว้ในกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จที่ประกาศในรัชสมัยพระเจ้าอู่ทองเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๓
ไม่ว่าจะเลือกใช้คำใด คำว่า “ราชา” “กษัตริย์” “จักรพรรดิ” โดยความหมายแล้วน่าจะใช้เหมือนๆ กัน อย่างไรก็ดีในสังคมไทยเรียกพระมหากษัตริย์ว่า “ในหลวง” “พ่อหลวง” “พ่อของแผ่นดิน” ความหมายก็คือ เป็นผู้ปกครองที่เปรียบเหมือนพ่ออยู่เหนือเกล้าเหนือชีวิตซึ่งชนชาวไทยมีความจงรักภักดีชั่วกาลนาน
ความหมายของพระมหากษัตริย์ ในเรื่องการเมืองการปกครองของไทยที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์แต่เดิมมีแนวคิดสองประการคือ ประการแรกถือว่าพระมหากษัตริย์คือ หัวหน้าครอบครัวใหญ่ที่มีความสัมพันธ์กันทางสายเลือดกับหมู่คณะ และสำหรับความหมายประการที่สองคือ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐในทางการเมืองหรือเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองโดยเฉพาะในยุโรปมีความเชื่อในเรื่องลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine right of King) และถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยและมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ รวมทั้งมีอำนาจโดยสมบูรณ์ (Absolute)
สำหรับประเทศไทยแนวคิดในเรื่องพระมหากษัตริย์เริ่มปรากฏชัดเจน ในยุคกรุงสุโขทัยโดยใช้คำว่า “พ่อขุน” ราษฎรมีความใกล้ชิดกับองค์พระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นเรียกว่าพ่อขุนก็พร้อมที่จะช่วยประชาชน โดยประชาชนที่ร้อนอกร้อนใจก็สั่นกระดิ่งเพื่อร้องขอให้พิจารณาอรรถคดีต่างๆได้ ทุกวันพระก็ชักชวนข้าราชบริพารและหมู่เหล่าปวงชนพร้อมใจกันฟังเทศน์รับศีลประชาชนใกล้ชิดผู้ปกครอง พ่อขุนใช้หลักครอบครัวมาบริหารรัฐและใช้หลักศาสนาเข้าผูกใจคนให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข ดังนั้นพ่อขุนหรือพระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยนั้นจึงเรียกว่า “อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ” หมายถึง พระมหากษัตริย์ที่ประชาชนและเหล่าอำมาตย์เลือกพระองค์ขึ้นปกครองประเทศ อย่างไรก็ดีในช่วงการเปลี่ยนแผ่นดินและศูนย์กลางความเจริญย้ายลงมาทางใต้อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเริ่มเจริญขึ้น การแพร่ของแนวคิดต่างๆที่อยู่รอบๆอาณาจักรใหม่ทั้งจากชาติตะวันตกที่เข้ามาค้าขายและชนชาติเขมรหรือขอมก็เข้าสู่แนวคิดเรื่องพระมหากษัตริย์ในช่วงนี้ แนวคิดเรื่องพระมหากษัตริย์จึงมีการผสมผสานหลากหลายขึ้น ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงไม่ใช่คนธรรมดาอย่างพ่อขุน แต่เป็นบุคคลที่มีความสามารถเป็นบุคคลที่สร้างชาติรวมแผ่นดิน แนวคิดทั้งของตะวันตกและของเขมร จึงทำให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจในการปกครองสูงสุดดุจได้รับเทวสิทธิ์และขณะเดียวกันพระมหากษัตริย์ทรงใช้หลักการปกครองโดยมีหลักศาสนากำกับ เพราะพระมหากษัตริย์มีคติราชประเพณี ทศพิธราชธรรมและทรงมีพระมโนธรรมกำกับ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พระมหากษัตริย์ไทยยังทรงอยู่คู่กับราษฎรไทยเสมอมา
ปัจจุบันรัฐธรรมนูญเกือบจะทุกฉบับรับรองฐานะของพระมหากษัตริย์ เช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๔๙ มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทยองค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. ๒๕๕๐ก็เช่นกัน
ฐานะของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยคือ ทรงเป็นประมุขของประเทศและยังทรงใช้อำนาจอำนาจอธิปไตยทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
สำหรับรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช ๒๕๕๐ รับรองฐานะของพระมหากษัตริย์ไว้เช่นกันเช่น ในมาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และในมาตรา ๓ อธิบายไว้ว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม” มาตรา ๘ องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ มาตรา ๙ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัคราสนูปถัมภกคือองค์ประธานในการทำนุบำรุศาสนาทุกศาสนาให้ดำรงอยู่ และในมาตรา ๑๐ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย นอกจากนี้ยังมีมาตราอื่นท่านที่สนใจศึกษาได้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ เพิ่มเติม
จากอดีตจนถึงปัจจุบัน คนไทยเราอยู่และคุ้นเคยกับสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างมากพระมหากษัตริย์ไทยทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อให้พสกนิกรอยู่เย็นเป็นสุข ท้องถิ่นใดเดือดร้อนทรงพระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์ ทรงพระราชทานฝนหลวง ทรงดับร้อนผ่อนทุกข์เข็ญ ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจไทยทั้งชาติ ทรงเป็นแบบอย่างในการดำเนินวิถีชีวิตแบบพอเพียงให้แก่ปวงชนชาวไทยที่หลงในโลกวัตถุ ตามกระแสจนกลายเป็นทาสความคิด ทรงปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดของผู้คนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
และในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ พรรษาองค์การสหประชาชาติขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล “เกียรติยศเพื่อการพัฒนา” พระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงอุทิศพระวรกายและพระวิริยะอุตสาหะ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนแก่ปวงชนชาวไทย ทรงประกอบพระราชกรณียกิจทุกวันทุกเวลาและทุกสถานที่ก็เพื่อปวงชนชาวไทย วันนี้ปวงชนชาวไทยทำอะไร เพื่อพระมหากษัตริย์ของเราพระองค์นี้เต็มศักยภาพของตนเองหรือยัง ดังนั้นในวันที่ ๕ ธันวาคมพ.ศ. ๒๕๕๐ จะเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งเป็นวันที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา ท่านนึกได้หรือยังว่าท่านจะทำอะไรถวายในหลวงของเราและถวายท่านตลอดไป ปีนี้ปี ๒๕๕๒ พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนพรรษาเพิ่มขึ้นพระราชกรณียกิจก็เพิ่มมากขึ้นตาม เราคนไทยทำไมจึงทำให้พระมหากษัตริย์ของเราต้องเหน็ดเหนื่อยอย่างนี้
ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์
ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันนี้เป็นสถาบันปกครองอันเก่าแก่ที่อยู่คู่กับแผ่นดินไทยมาแต่โบราณกาล มีการวิวัฒนาการมาตั้งแต่เริ่มรวมชาติรวมแผ่นเดิน ก่อร่างสร้างเมืองตั้งแต่อดีต จนมาเป็นประเทศชาติทุกวันนี้ก็เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันพระมหากษัตริย์ยังเป็นสถาบันที่อยู่ในหัวใจของประชาชน เป็นสถาบันที่เคารพ สักการะเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมของปวงชนชาวไทยทุกๆ คน ผู้ใดหรือใครจะมาล่วงเกินพระราชอำนาจไม่ได้ ในสมัยสุโขทัยสถาบันพระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนพ่อของประชาชน ฐานะของพระองค์เป็นพ่อขุนมีความใกล้ชิดประชาชน พอเข้าสมัยกรุงศรีอยุธยาฐานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมุติเทพหรือเป็นเทวดาโดยสมมุติ และทรงมีพระราชอำนาจในการปกครองทรงเป็นองค์อธิปัตย์สูงสุดในการปกครองบ้านปกครองเมือง ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยหลักธรรม โดยมีทศพิธราชธรรมและธรรมะหลักสำคัญต่างๆ ในการปกครองจนทำให้ ไพร่ฟ้าประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ทรงครองราชย์ป้องเมืองทำนุบำรุงบ้านเมือง ศาสนา และสังคม จวบมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าประเทศไทยจะมีรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย พระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ก็มิทรงเสื่อมถอย และสถาบันพระมหากษัตริย์กลับเป็นที่เคารพสักการะจากประชาชนมากเช่นเดิมไม่มีเปลี่ยนแปลง
ประเภทของสถาบันพระมหากษัตริย์
สถาบันพระมหากษัตริย์แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท พอสรุปได้ดังนี้
๑. พระมหากษัตริย์ในระบบฟิวดัล(Feudal Monarchy) คือ การที่สถาบันพระมหา
กษัตริย์มีพระราชอำนาจเหนือแผ่นดินและเพื่อตอบแทนเหล่าขุนนาง พระมหากษัตริย์ในระบอบนี้จึงให้ที่ดินเป็นการตอบแทนเพื่อเป็นกำลังใจในการทำงานของเหล่าขุนนาง เป็นการลดความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองและขุนนางระดับต่างๆอีกทั้งเป็นการประสานประโยชน์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และขุนนางให้การบริหารรัฐเป็นไปโดยสงบ
๒. พระมหากษัตริย์ในลัทธิเทวสิทธิ์ จากลัทธินี้จึงมีความเชื่อว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ เกิดจากอำนาจของพระเจ้า พระมหากษัตริย์จึงเป็นเจ้าชีวิตเป็นเจ้าของแผ่นดินพระมหากษัตริย์จึงมีอำนาจอันชอบธรรมโดยโองการของพระเจ้า ในการปกครองประชาชนทุกคนต้องยอมรับและปฏิบัติตนตามโองการของพระเจ้า สถาบันพระมหากษัตริย์จึงมีอำนาจสมบูรณ์ เราจึงเรียกการปกครองลักษณะนี้ว่า “การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” แต่ทั้งนี้การปกครองอยู่บนรากฐานของหลักของศีลธรรมอันดีงามที่เป็นแนวปฏิบัติมาแต่โบราณกาล
๓. พระมหากษัตริย์ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย แนวคิดนี้เริ่มพัฒนาเมื่อมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเข้ามา ทำให้การปกครองเปลี่ยนรูปแบบไป แนวคิดนี้เชื่อในเรื่องปัจเจกบุคคลและให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วนในการปกครอง และยังเชื่อว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองนั้นเป็นของประชาชนทุกๆ คน ดังนั้นสถาบันพระมหากษัตริย์จึงเท่ากับเป็นสัญลักษณ์ทางการเมืองหรือเป็นประมุขของประเทศ
๓.๒.๓ สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย
ประเทศไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่คู่กับสังคมไทยมานานแล้ว และเท่าที่ปรากฏในหลักฐานนักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า สังคมไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักที่ทำหน้าที่ในการปกครองบ้านเมืองมาตั้งแต่ครั้งสมัยอาณาจักรสุโขทัยหรือก่อนหน้านั้น และสถาบันพระมหากษัตริย์ในสมัยนั้น ก็มีรูปแบบการปกครองที่ใกล้ชิดกับพลเมือง โดยฐานะของพระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นมีฐานะเป็นผู้นำที่เรียกทั่วๆไปว่า “พ่อขุน” การปกครองจึงเป็นแบบพ่อปกครองลูก และพ่อขุนก็เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองประเทศ พ่อขุนใช้อำนาจนิติบัญญัติโดยการที่พ่อขุนเป็นผู้ออกกฎหมาย คำพูดของพ่อขุนเป็นคำสั่ง และในขณะเดียวกันก็เป็นกฎหมายด้วย สำหรับอำนาจบริหารพ่อขุนทำหน้าที่ในการบริหารอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นศูนย์กลางการบริหารอำนาจต่างๆ ดังนั้นอำนาจต่างๆจึงมาจากราชธานีส่วนกลาง และอำนาจตุลาการนั้นพ่อขุนทรงเป็นผู้พิจารณาอรรถคดีต่างๆ และประชาชนคนใดที่มีทุกข์ใจ มีปัญหาใดๆก็เข้ามาสั่นกระดิ่ง ร้องฎีกา ในวันพระพ่อขุนก็จะลงตัดสินคดีความโดยตัวพ่อขุนเอง จะเห็นได้ว่าพ่อขุนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว เป็นผู้มีและผู้ใช้อำนาจอธิปไตยสูงสุดแต่พียงผู้เดียว การปกครองรูปแบบนี้ เรียกว่า การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยอำนาจสูงสุดอยู่ที่คนๆ เดียว แต่พระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ไม่สามารถทำอะไรที่ผิดทำนองคลองธรรมได้ อย่างไรก็ดีในสมัยนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีอำนาจใดๆ มาจำกัดอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ ในทางปฏิบัติสถาบันพระมหากษัตริย์ยังต้องปฏิบัติตามหลักของศีลธรรมหลักของศาสนา ได้แก่ การปฏิบัติตามหลักธรรมที่ใช้ในการปกครองที่เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ราชสังคหะวัตถุหรือจักรวรรดิวัตร ๑๒ ประการ เป็นต้น เราจึงเชื่อว่าฐานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นเจ้าชีวิต ทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินหรือพระเจ้าแผ่นดินและทรงเป็นธรรมราชาอีกด้วย การปกครองแบบพ่อปกครองลูกรูปแบบการปกครองนี้ก็อยู่กับสังคมไทยมาจนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองแบบค่อยเป็นค่อยไป จากการปกครองแบบพ่อปกครองลูกในสมัยอาณาจักรกรุงสุโขทัยมาเป็นการปกครองแบบอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา โดยมีรูปแบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากขอมแนวคิดเรื่องฐานะของพระมหากษัตริย์จึงเปลี่ยนไป และใช้แนวคิดนี้จวบจนสิ้นอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เข้าสู่ยุคอาณาจักรกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ยังทรงใช้รูปแบบการเมืองการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามกลุ่มต่างๆที่ตั้งขึ้นมาอย่างอิสระ และเมื่อมีการสถาปนาอาณาจักรใหม่ คือ อาณาจักรรัตนโกสินทร์ มีเมืองหลวงชื่อ กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์... ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ก็ยังทรงใช้รูปแบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จนมาถึงสมัยรัชการที่ ๕ แผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีนโยบายเรื่องการเมืองการปกครองที่ทันสมัยโดยให้เชื้อพระวงศ์และขุนนางไปดูงานและศึกษาระบบการเมืองการปกครองของประเทศที่เจริญ เช่น อังกฤษ เพื่อมาทดลองในประเทศไทยบ้าง พอเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงทดลองเมืองประชาธิปไตย ที่เรียกกันติดปากว่า “ดุสิตธานี” ทำให้การเมืองการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ค่อยๆ พัฒนาจนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ฐานะของพระมหากษัตริย์ มีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่มีทรงพระราชอำนาจสูงสุดเพียงผู้เดียวอำนาจนั้นมอบให้แก่ประชาชนและพระมหากษัตริย์ ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่อย่างไรก็ดี แม้ว่าพระราชอำนาจในทางการเมืองจะลดน้อยลงแต่พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยก็อยู่ในหัวใจของชาวไทยทุกผู้ทุกนาม พระมหากษัตริย์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อประชาชนชาวไทยและแผ่นดินไทยอย่างหาที่เปรียบมิได้ ในยามที่ประเทศชาติและการเมืองวุ่นวายระส่ำระสาย มีหลายครั้งหลายคราวที่พระมหากษัตริย์พระองค์ท่านทรงเป็นที่พึ่งให้กับประชาชนในยามที่ประเทศทุกข์ยากหรืออาจกล่าวได้ว่า พระมหากษัตริย์ไทยอยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องพระมหากษัตริย์ไว้ในมาตรา ๘-๒๕ นักศึกษาควรศึกษาเพิ่มเติมให้ละเอียด ไม่ใช่เฉพาะนักศึกษาประชาชนทั่วไปก็ต้องศึกษารัฐธรรมนูญ เรามาเริ่มอ่านและศึกษาอย่างช้าๆ ไปด้วยกัน ท่านใดที่ต้องการศึกษารัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มาเรียนได้ฟรีแต่ให้มาเป็นกลุ่มๆละ ๑๐-๒๐ คน ภาควิชาสังคมศาสตร์ มทร.ล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก จะจัดกลุมสนใจให้และเป็นการบริการความรู้ให้สังคม ไม่เสียค่าใช้จ่ายฟรีทุกรายการ แต่อย่าลืมห่อข้าวกลางวันมารับประทานเอง
สภาพทางการเมืองในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงรูปแบบของระบบประชาธิปไตยอันเป็นระบบการปกครองที่สืบทอดมาช้านาน การเปลี่ยนแปลงภายในตัวระบบอยู่ที่การปรับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดที่ทำหน้าที่ปกครองประเทศ รูปแบบของสถาบ้นกษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คลายความเป็นเทวราชาลงเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็กลับเน้นคติและรูปแบบของธรรมราชาขึ้นแทนที่ อย่างไรก็ตาม อำนาจอันล้นพ้นของพระมหากษัตริย์ก็มีอยู่แต่ในทางทฤษฎี เพราะในทางปฏิบัติ พระราชอำนาจของพระองค์กลับถูกจำกัดลงด้วยคติธรรมในการปกครอง ซึ่งอิงหลักธรรมของพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรม กับอีกประการหนึ่ง คือ การถูกแบ่งพระราชอำนาจตามการจัดระเบียบควบคุมในระบบไพร่ ซึ่งถือกันว่า พระมหากษัตริย์คือมูลนายสูงสุดที่อยู่เหนือมูลนายทั้งปวง แต่ในทางปฏิบัติพระองค์ก็มิอาจจะควบคุมดูแลไพร่พลเป็นจำนวนมากได้ทั่วถึง จึงต้องแบ่งพระราชอำนาจในการบังคับบัญชากำลังคนให้กับมูลนายในระดับรองๆ ลงมา ในลักษณะเช่นนั้น มูลนายที่ได้รับมอบหมายให้กำกับไพร่และบริหารราชการแผ่นดินต่างพระเนตรพระกรรณ จึงเป็นกลุ่มอำนาจมีอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลุ่มใดจะมีอำนาจเหนือกลุ่มใดก็แล้วแต่สภาพแวดล้อมของสังคมในขณะนั้นเป็นสำคัญ
การปกครองและการบริหารประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กล่าวได้ว่า รูปแบบของการปกครอง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงยึดตามแบบฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางระเบียบไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดฯ ให้คืนเขตการปกครองในหัวเมืองภาคใต้กลับให้สมุหกลาโหมตามเดิม ส่วนสมุหนายกให้ปกครองหัวเมืองทางเหนือ ส่วนพระคลังดูแลหัวเมืองชายทะเล ในด้านระบบการบริหาร ก็ยังคงมีอัครมหาเสนาบดี ๒ ฝ่าย คือ สมุหนายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ และสมุหกลาโหม เป็นหัวหน้าราชการฝ่ายทหาร ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ตำแหน่งรองลงมาคือ เสนาบดีจตุสดมภ์ แบ่งตามชื่อกรมที่มีอยู่คือ เวียง วัง คลังและ นา ในบรรดาเสนาทั้ง ๔ กรมนี้ เสนาบดีกรมคลังจะมีบทบาทและภาระหน้าที่มากที่สุด คือนอกจากจะบริหารการคลังของประเทศแล้ว ยังมีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลตะวันออก เสนาบดีทั้งหลายมีอำนาจสั่งการภายในเขตความรับผิดชอบของตน รูปแบบที่ถือปฏิบัติก็คือ ส่งคำสั่งและรับรายงานจากเมืองในสังกัดของตน ถ้ามีเรื่องร้ายที่เกิดขึ้น เสนาบดีเจ้าสังกัดจะเป็นแม่ทัพออกไปจัดการเรื่องต่างๆ ให้เรียบร้อย มีศาลของตัวเองและสิทธิในการเก็บภาษีอากรในดินแดนสังกัดของตน รวมทั้งดูแลการลักเลขทะเบียนกำลังคนในสังกัดด้วย
การบริหารในระดับต่ำลงมา อาศัยรูปแบบการปกครองคนในระบบไพร่ คือ แบ่งฝ่ายงานออกเป็นกรมกองต่างๆ แต่ละกรมกอง มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการควบคุมกำลังคนในสังกัดของตน โครงสร้างของแต่ละกรม ประกอบด้วยขุนนางข้าราชการอย่างน้อย ๓ ตำแหน่ง คือ เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุห์บัญชี กรมมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก กรมใหญ่มักเป็นกรมสำคัญ เจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์ถึงขนาดเจ้าพระยาหรือพระยา
กรมของเจ้านายที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ กรมของพระมหาอุปราช ซึ่งเรียกกันว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมของพระองค์มีไพร่พลขึ้นสังกัดมาก กรมของเจ้านายมิได้ทำหน้าที่บริหารราชการโดยตรง ถือเป็นกรมที่ควบคุมกำลังคนเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น การแต่งตั้งเจ้านายขึ้นทรงกรมจึงเป็นการให้ทั้งความสำคัญ เกียรติยศ และความมั่นคงเพราะไพร่พลในครอบครองเป็นเครื่องหมายแสดงถึงอำนาจและความมั่งคั่งของมูลนายผู้เป็นเจ้าของการบริหารราชการส่วนกลาง มีพระมหากษัตริย์เป็นมูลนายระดับสูงสุด เจ้านายกับขุนนางข้าราชการผู้บังคับบัญชากรมต่างๆ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ฐานะเป็นมูลนายในระดับสูง ช่วยบริหารราชการ โดยมีนายหมวด นายกอง เป็นมูลนายระดับล่างอยู่ใต้บังคับบัญชา และทำหน้าที่ควบคุมไพร่อีกต่อหนึ่ง การสั่งราชการจะผ่านลำดับชั้นของมูลนายลงมาจนถึงไพร่
สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคหรือการปกครองหัวเมือง ขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดี ๒ ท่าน และเสนาบดีคลัง ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น หัวเมืองแบ่งออกเป็นสองชั้นใหญ่ๆ ได้แก่ หัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นอก การแบ่งหัวเมืองยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น ๔ ขั้น คือ เอก โท ตรี จัตวา ตามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และราษฎร
หัวเมืองชั้นใน เป็นหน่วยปกครองที่อยู่ใกล้เมืองหลวง มีเจ้าเมืองหรือผู้รั้ง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าปกครองดูแล
หัวเมืองชั้นนอก มีทั้งหัวเมืองใหญ่ หัวเมืองรอง และหัวเมืองชายแดน หัวเมืองเหล่านี้ อยู่ใต้การปกครองของเจ้าเมือง และข้าราชการในเมืองนั้นๆ
นโยบายที่ใช้ในการปกครองหัวเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความกระชับยิ่งขึ้น กล่าวคือ รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงออกพระราชกำหนดตัดทอนอำนาจเจ้าเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการที่สำคัญๆ ทุกตำแหน่ง โดยโอนอำนาจการแต่งตั้งจากกรมเมืองในเมืองหลวง นับเป็นการขยายอำนาจของส่วนกลาง โดยอาศัยการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับเจ้านายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งเจ้าเมือง และข้าราชการที่แต่งตั้งตนในส่วนกลาง ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ต้องรายงานตัวต่อผู้ตั้งทุกปี ทั้งนี้เพื่อผลในการควบคุมไพร่พลและเกณฑ์ไพร่มาใช้ เพราะฉะนั้น มูลนายในเมืองหลวงจึงได้ควบคุมสัสดีต่างจังหวัดอย่างใกล้ชิด
ส่วนการปกครองในประเทศราช เช่น ลาว เขมร มลายู นั้น ไทยใช้วิธีปกครองโดยทางอ้อม ส่วนใหญ่จะปลูกฝังความนิยมไทยลงในความรู้สึกของเจ้านายเมืองขึ้น โดยการนำเจ้านายจากประเทศราชมาอบรมเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรมของพระมหากษัตริย์ในราชสำนักไทยหรือสนับสนุนให้มีการแต่งงานกันระหว่างเจ้านายทั้งสองฝ่าย และภายหลังก็ส่งเจ้านายพระองค์นั้นไปปกครองเมืองประเทศราช ด้วยวิธีนี้ จึงทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันกันขึ้นระหว่างกษัตริย์ไทยกับเจ้านายเมืองขึ้น การปกครอง หรือการขยายอำนาจอิทธิพลในอาณาจักรต่างๆ เหล่านี้ ฝ่ายไทยและประเทศราชไม่มีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ขึ้นกับอำนาจความมั่นคงของราชอาณาจักรไทย เพราะฉะนั้น ในช่วงใดที่ประเทศอ่อนแอ เมืองขึ้นก็อาจแข็งเมืองหรือหันไปหาแหล่งอำนาจใหม่ เพราะฉะนั้น เมื่ออำนาจตะวันออกแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนเอเซียอาคเนย์ ปัญหาเรื่องอิทธิพลในเขตแดนต่างๆ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเวลาทำความตกลงกัน


ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป การปฏิรูปเศรษฐกิจ ก็ได้แก่ การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษีอากร ส่วนการปฏิรูปสังคมก็ได้แก่ การเลิกทาส การปฏิรูปการศึกษา รวมทั้งการปรับปรุงการสื่อสาร และการคมนาคม เป็นต้น
สำหรับมูลเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการปกครอง มีอยู่ ๒ ประการ คือ
๑.มูลเหตุภายใน ทรงพิจารณาเห็นว่าการปกครองแบบเดิมไม่เหมาะสมกับสภาพทางการปกครองและทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น การคมนมคมและการติดต่อสื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น การปกครองแบบเดิมจะมีผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง ขาดประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและพัฒนาได้ยาก
๒.มูลเหตุภายนอก ทรงพิจารณาเห็นว่า หากไม่ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้น แต่เดิมเราต้องยินยอมให้ประเทศตะวันตกหลายประเทศมีสิทธิภาพนอกอาณาเขตคือ สามารถตั้งศาลกงสุลขึ้นมาพิจารณาความคนในบังคับของตนได้ โดยไม่ต้องอยู่ใต้การบังคับของศาลไทย เพราะอ้างว่า ศาลไทยล้าสมัย
การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (2325-2435)

สภาพทางการเมืองในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงรูปแบบของระบบประชาธิปไตยอันเป็นระบบการปกครองที่สืบทอดมาช้านาน การเปลี่ยนแปลงภายในตัวระบบอยู่ที่การปรับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดที่ทำหน้าที่ปกครองประเทศ รูปแบบของสถาบันกษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คลายความเป็นเทวราชาลงเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็กลับเน้นคติและรูปแบบของธรรมราชาขึ้นแทนที่ อย่างไรก็ตาม อำนาจอันล้นพ้นของพระมหากษัตริย์ก็มีอยู่แต่ในทางทฤษฎี เพราะในทางปฏิบัติ พระราชอำนาจของพระองค์กลับถูกจำกัดลงด้วยคติธรรมในการปกครอง ซึ่งอิงหลักธรรมของพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรม กับอีกประการหนึ่ง คือ การถูกแบ่งพระราชอำนาจตามการจัดระเบียบควบคุมในระบบไพร่ ซึ่งถือกันว่า พระมหากษัตริย์คือมูลนายสูงสุดที่อยู่เหนือมูลนายทั้งปวง แต่ในทางปฏิบัติพระองค์ก็มิอาจจะควบคุมดูแลไพร่พลเป็นจำนวนมากได้ทั่วถึง จึงต้องแบ่งพระราชอำนาจในการบังคับบัญชากำลังคนให้กับมูลนายในระดับรองๆ ลงมา ในลักษณะเช่นนั้น มูลนายที่ได้รับมอบหมายให้กำกับไพร่และบริหารราชการแผ่นดินต่างพระเนตรพระกรรณ จึงเป็นกลุ่มอำนาจมีอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลุ่มใดจะมีอำนาจเหนือกลุ่มใดก็แล้วแต่สภาพแวดล้อมของสังคมในขณะนั้นเป็นสำคัญ
ทิพย์รัตน์ บันทึกการเข้า

การปกครองและการบริหารประเทศ: การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
« 1 เมื่อ: ก.ย. 12, 2009, 12:30:04 pm »

การปกครองและการบริหารประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กล่าวได้ว่า รูปแบบของการปกครอง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงยึดตามแบบฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางระเบียบไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดฯ ให้คืนเขตการปกครองในหัวเมืองภาคใต้กลับให้สมุหกลาโหมตามเดิม ส่วนสมุหนายกให้ปกครองหัวเมืองทางเหนือ ส่วนพระคลังดูแลหัวเมืองชายทะเล ในด้านระบบการบริหาร ก็ยังคงมีอัครมหาเสนาบดี ๒ ฝ่าย คือ สมุหนายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ และสมุหกลาโหม เป็นหัวหน้าราชการฝ่ายทหาร ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ตำแหน่งรองลงมาคือ เสนาบดีจตุสดมภ์ แบ่งตามชื่อกรมที่มีอยู่คือ เวียง วัง คลังและ นา ในบรรดาเสนาทั้ง ๔ กรมนี้ เสนาบดีกรมคลังจะมีบทบาทและภาระหน้าที่มากที่สุด คือนอกจากจะบริหารการคลังของประเทศแล้ว ยังมีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลตะวันออก เสนาบดีทั้งหลายมีอำนาจสั่งการภายในเขตความรับผิดชอบของตน รูปแบบที่ถือปฏิบัติก็คือ ส่งคำสั่งและรับรายงานจากเมืองในสังกัดของตน ถ้ามีเรื่องร้ายที่เกิดขึ้น เสนาบดีเจ้าสังกัดจะเป็นแม่ทัพออกไปจัดการเรื่องต่างๆ ให้เรียบร้อย มีศาลของตัวเองและสิทธิในการเก็บภาษีอากรในดินแดนสังกัดของตน รวมทั้งดูแลการลักเลขทะเบียนกำลังคนในสังกัดด้วย
ทิพย์รัตน์ บันทึกการเข้า

การปกครองและการบริหารประเทศ: การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
« 2 เมื่อ: ก.ย. 12, 2009, 12:32:34 pm »

การบริหารในระดับต่ำลงมา อาศัยรูปแบบการปกครองคนในระบบไพร่ คือ แบ่งฝ่ายงานออกเป็นกรมกองต่างๆ แต่ละกรมกอง มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการควบคุมกำลังคนในสังกัดของตน โครงสร้างของแต่ละกรม ประกอบด้วยขุนนางข้าราชการอย่างน้อย ๓ ตำแหน่ง คือ เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุห์บัญชี กรมมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก กรมใหญ่มักเป็นกรมสำคัญ เจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์ถึงขนาดเจ้าพระยาหรือพระยา

กรมของเจ้านายที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ กรมของพระมหาอุปราช ซึ่งเรียกกันว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมของพระองค์มีไพร่พลขึ้นสังกัดมาก กรมของเจ้านายมิได้ทำหน้าที่บริหารราชการโดยตรง ถือเป็นกรมที่ควบคุมกำลังคนเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น การแต่งตั้งเจ้านายขึ้นทรงกรมจึงเป็นการให้ทั้งความสำคัญ เกียรติยศ และความมั่นคงเพราะไพร่พลในครอบครองเป็นเครื่องหมายแสดงถึงอำนาจและความมั่งคั่งของมูลนายผู้เป็นเจ้าของการบริหารราชการส่วนกลาง มีพระมหากษัตริย์เป็นมูลนายระดับสูงสุด เจ้านายกับขุนนางข้าราชการผู้บังคับบัญชากรมต่างๆ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ฐานะเป็นมูลนายในระดับสูง ช่วยบริหารราชการ โดยมีนายหมวด นายกอง เป็นมูลนายระดับล่างอยู่ใต้บังคับบัญชา และทำหน้าที่ควบคุมไพร่อีกต่อหนึ่ง การสั่งราชการจะผ่านลำดับชั้นของมูลนายลงมาจนถึงไพร่
สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคหรือการปกครองหัวเมือง ขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดี ๒ ท่าน และเสนาบดีคลัง ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น หัวเมืองแบ่งออกเป็นสองชั้นใหญ่ๆ ได้แก่ หัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นอก การแบ่งหัวเมืองยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น ๔ ขั้น คือ เอก โท ตรี จัตวา ตามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และราษฎร

หัวเมืองชั้นใน เป็นหน่วยปกครองที่อยู่ใกล้เมืองหลวง มีเจ้าเมืองหรือผู้รั้ง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าปกครองดูแล หัวเมืองชั้นนอก มีทั้งหัวเมืองใหญ่ หัวเมืองรอง และหัวเมืองชายแดน หัวเมืองเหล่านี้ อยู่ใต้การปกครองของเจ้าเมือง และข้าราชการในเมืองนั้นๆ
ทิพย์รัตน์ บันทึกการเข้า

นโยบาย: การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
« 3 เมื่อ: ก.ย. 12, 2009, 12:34:13 pm »


นโยบายที่ใช้ในการปกครองหัวเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความกระชับยิ่งขึ้น กล่าวคือ รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงออกพระราชกำหนดตัดทอนอำนาจเจ้าเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการที่สำคัญๆ ทุกตำแหน่ง โดยโอนอำนาจการแต่งตั้งจากกรมเมืองในเมืองหลวง นับเป็นการขยายอำนาจของส่วนกลาง โดยอาศัยการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับเจ้านายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งเจ้าเมือง และข้าราชการที่แต่งตั้งตนในส่วนกลาง ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ต้องรายงานตัวต่อผู้ตั้งทุกปี ทั้งนี้เพื่อผลในการควบคุมไพร่พลและเกณฑ์ไพร่มาใช้ เพราะฉะนั้น มูลนายในเมืองหลวงจึงได้ควบคุมสัสดีต่างจังหวัดอย่างใกล้ชิด
ทิพย์รัตน์ บันทึกการเข้า

นโยบาย: การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
« 4 เมื่อ: ก.ย. 12, 2009, 12:35:41 pm »

ส่วนการปกครองในประเทศราช เช่น ลาว เขมร มลายู นั้น ไทยใช้วิธีปกครองโดยทางอ้อม ส่วนใหญ่จะปลูกฝังความนิยมไทยลงในความรู้สึกของเจ้านายเมืองขึ้น โดยการนำเจ้านายจากประเทศราชมาอบรมเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรมของพระมหากษัตริย์ในราชสำนักไทยหรือสนับสนุนให้มีการแต่งงานกันระหว่างเจ้านายทั้งสองฝ่าย และภายหลังก็ส่งเจ้านายพระองค์นั้นไปปกครองเมืองประเทศราช ด้วยวิธีนี้ จึงทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันกันขึ้นระหว่างกษัตริย์ไทยกับเจ้านายเมืองขึ้น การปกครอง หรือการขยายอำนาจอิทธิพลในอาณาจักรต่างๆ เหล่านี้ ฝ่ายไทยและประเทศราชไม่มีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ขึ้นกับอำนาจความมั่นคงของราชอาณาจักรไทย เพราะฉะนั้น ในช่วงใดที่ประเทศอ่อนแอ เมืองขึ้นก็อาจแข็งเมืองหรือหันไปหาแหล่งอำนาจใหม่ เพราะฉะนั้น เมื่ออำนาจตะวันออกแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนเอเชียอาคเนย์ ปัญหาเรื่องอิทธิพลในเขตแดนต่างๆ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเวลาทำความตกลงกัน

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป การปฏิรูปเศรษฐกิจ ก็ได้แก่ การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษีอากร ส่วนการปฏิรูปสังคมก็ได้แก่ การเลิกทาส การปฏิรูปการศึกษา รวมทั้งการปรับปรุงการสื่อสาร และการคมนาคม เป็นต้น
ทิพย์รัตน์ บันทึกการเข้า

สาเหตุการปฏิรูปการปกครอง: การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
« 5 เมื่อ: ก.ย. 12, 2009, 12:41:06 pm »

สำหรับมูลเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการปกครอง มีอยู่ ๒ ประการ คือ
๑.มูลเหตุภายใน ทรงพิจารณาเห็นว่าการปกครองแบบเดิมไม่เหมาะสมกับสภาพทางการปกครองและทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น การคมนมคมและการติดต่อสื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น การปกครองแบบเดิมจะมีผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง ขาดประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและพัฒนาได้ยาก
๒.มูลเหตุภายนอก ทรงพิจารณาเห็นว่า หากไม่ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักรวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้น แต่เดิมเราต้องยินยอมให้ประเทศตะวันตกหลายประเทศมีสิทธิภาพนอกอาณาเขตคือ สามารถตั้งศาลกงสุลขึ้นมาพิจารณาความคนในบังคับของตนได้ โดยไม่ต้องอยู่ใต้การบังคับของศาลไทย เพราะอ้างว่า ศาลไทยล้าสมัย